เบรกเกอร์ เซอร์กิตเบรกเกอร์ ลูกย่อยไฟฟ้า คืออะไร

article circuit breaker siemens

เบรกเกอร์ เซอร์กิตเบรกเกอร์ ลูกย่อยไฟฟ้า คืออะไร

เบรกเกอร์ (Circuit Breaker) คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าในการตัดวงจรไฟฟ้าแบบอัตโนมัติเมื่อเกิดความผิดปกติในระบบไฟฟ้า เพื่อป้องกันวงจรไฟฟ้าเกิดความเสียหาย จากกระแสไฟฟ้าเกินโหลดเกิน(ใช้ไฟมากเกิน) หรือไฟฟ้าลัดวงจร เบรกเกอร์แต่ละประเภทมีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกัน เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้งานคล้ายๆกับฟิวส์(Fuse) แตกต่างกันตรงที่เบรกเกอร์เมื่อมีการตัดวงจรแล้วสามารถสับสวิตซ์เพื่อใช้งานต่อได้ทันที

เบรกเกอร์มีหลายประเภท ทั้งเบรกเกอร์ขนาดเล็กที่ใช้ป้องกันสำหรับวงจรที่มีกระแสไฟฟ้าต่ำ เช่นเครื่องใช้ไฟฟ้า จนถึงสวิตช์ขนาดใหญ่ที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันวงจรไฟฟ้าแรงสูงที่จ่ายไฟให้ตัวเมือง

ประเภทของเซอร์กิตเบรกเกอร์
มี 3 ประเภทคือ 1.เบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าต่ำ(Low Voltage Circuit Breaker) 2.เบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้ากลาง(Medium voltage Circuit breaker)และ เบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าสูง(High voltage circuit breaker) เบรกเกอร์ที่นิยมใช้กันคือ Low Voltage Circuit Breaker เบรกเกอร์กลุ่มนี้คือ MCB, MCCB และ ACB จะมีลักษณะที่แตกต่างกันตามการออกแบบ ทั้งขนาด รูปร่างที่ถูกออกแบบมา ให้เข้ากับการใช้งานหลากหลายประเภท

เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าต่ำ(Low Voltage Circuit Breakers) นิยมติดตั้งในตู้คอนซูมเมอร์ยูนิทและตู้โหลดเซ็นเตอร์ ตัวอย่างเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าต่ำ มีดังนี้ MCB, RCDs, MCCB และ ACB โดยในบ้านพักอาศัยจะใช้ประเภทMCBมากที่สุด

MCB (Miniature Circuit Breakers) หรือเบรกเกอร์ ลูกย่อย มีขนาดเล็ก ใช้ในบ้านพักอาศัยที่มีการแสการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน100A วิธีการติดตั้งมี2แบบคือ Din-rail(ใช้เครื่องมือช่างทั่วๆไปในการประกอบ) และ Plug-on(ติดตั้งง่ายแค่ดันตัวเบรคเกอร์เข้ากรอบที่เตรียมไว้) ขนาดที่ใช้มีแบบ 1,2,3,4 Pole(แกนสลับขึ้นลง) ใช้ได้ทั้งกระแสไฟฟ้าแบบ1เฟส และ 3เฟส การใช้งานจะติดตั้งใน ตู้โหลดเซ็นเตอร์ หรือ ตู้ไฟฟ้า (Consumer unit)

RCDs (Residual Current Devices) คืออุปกรณ์เซฟตี้ที่ใช้สำหรับตัด/ป้องกันกันไฟรั่ว ไฟดูด มี 3 ประเภทตามความต้องการใช้งาน ได้แก่ RCBO(ป้องกันไฟดูดช๊อต), RCCB(ตัดไฟเมื่อเกิดการรั่วไหลของกระแส), ELCB(ป้องกันไฟดูด มักใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้า มีปุ่มเทส)

         

MCCB (Moulded Case Circuit Breakers) คือเบรกเกอร์ที่ใช้ในการเปิด-ปิดวงจรไฟฟ้า รวมถึงตัดกระแสไฟฟ้าเมื่อมีไฟรั่วหรือลัดวงจร ใช้กับกระแสไฟตั้งแต่100-2,300A แรงดันไม่เกิน1,000โวลต์ นิยมใช้ในตู้ไฟฟ้า Local panel ในอาคารขนาดใหญ

ACB(Air Circuit Breakers) เป็นเบรกเกอร์ขนาดใหญ่ที่สุดในหมวดLow Voltage ทนกระแสไฟฟ้าได้สูงสุดถึง6,300A สามารถเพิ่มอุปกรณ์เสริมต่างๆเข้าไปได้ตามความต้องการ นิยมใช้งานเป็นเมนเบรกเกอร์ในโรงงาน ต้องการการดูแลอย่างต่อเนื่อง

เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าปานกลาง : Medium Voltage Circuit Breakers
จะประกอบเข้าไปในตู้เหล็กสวิตช์ขนาดใหญ่ (metal-enclosed switchgear lineups) สำหรับใช้ในอาคาร หรืออาจใช้เป็นชิ้นส่วนติดตั้งภายนอกในสถานีย่อย เช่น แอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์ (ACB) ที่มีการอัดน้ำมันเข้าไปให้ทำงาน สำหรับใช้งานภายนอกอาคาร แต่ปัจจุบันหันมาใช้เบรคเกอร์สูญญากาศ (Vacuum Circuit Breakers) แทน มีแรงดันไฟฟ้าประมาณ 40.5 กิโลโวลต์ เบรกเกอร์เหล่านี้ทำงานโดยรีเลย์ตรวจจับกระแสไฟฟ้าที่ทำงานผ่านหม้อแปลงกระแสไฟฟ้า ลักษณะของเบรกเกอร์แรงดันไฟปานกลางได้การรับรองจากมาตรฐาน IEC 62271 และเบรกเกอร์ชนิดนี้มักใช้เซ็นเซอร์กระแสสลับและรีเลย์ป้องกันแทนการใช้เซ็นเซอร์วัดความร้อนหรือแม่เหล็กในตัว

เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าสูง : High Voltage Circuit Breakers
เครือข่ายการส่งกำลังไฟฟ้ามีการป้องกันและควบคุมโดยเซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าสูง ความหมายของ “แรงดันไฟฟ้าสูง” อาจมีความแตกต่างกันไป แต่ในงานส่งกำลังจะมีขนาดแรงดันไฟ 72.5 kV หรือสูงกว่า (ตามคำจำกัดความล่าสุดของ IEC) เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟสูงจะทำงานด้วยขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีรีเลย์ตรวจจับกระแสไฟที่ทำงานผ่านหม้อแปลงกระแสไฟฟ้าอีกที ในส่วนของชุดรีเลย์ป้องกันที่ซับซ้อนนั้น ช่วยป้องกันอุปกรณ์จากโหลดเกินหรือไฟรั่วลงดินได้

สอบถามข้อมูลสินค้าเพิ่มเติมได้ที่
https://bgrimmtrading.com/contact-us/
อีเมล: [email protected]
เบอร์โทรศัพท์ : +66 (0) 2710 3232

ประเภทของระบบขับเคลื่อน เครื่องสูบน้ำดับเพลิง

cover article driver firepump

ระบบขับเคลื่อนเครื่องสูบน้ำดับเพลิง จะแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

  1.  ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า สำหรับเครื่องสูบน้ำดับเพลิงที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า จะต้องใช้กำลังไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟที่เชื่อถือได้ เช่นจ่ายโดยตรงจากหม้อแปลงไฟฟ้า หรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
  2. ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซล สำหรับเครื่องสูบน้ำดับเพลิงที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซลนั้นจะสามารถแยกได้ 2 แบบ
    2.1 ระบบ Heat Exchanger Cooled คือ ระบบหล่อเย็นด้วยน้ำ โดยใช้เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน
    2.2 ระบบ Radiator Cooled คือ ระบบหล่อเย็นด้วยน้ำ โดยใช้รังผึ้งระบายความร้อนด้วยพัดลมจากเครื่องยนต์

Fire Pump (ปั๊มน้ำดับเพลิง) ปั๊มน้ำ คือ อุปกรณ์ที่ช่วยส่งผ่านพลังงาน จากแหล่งต้นกำเนิดไปยังของเหลว ก๊าซ หรือ ของเหลวที่มีของแข็งเป็นส่วนประกอบ (Slurries) เพื่อทำให้ของเหลวเคลื่อนที่จากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่งที่อยู่สูงกว่าหรือ ในระยะทางที่ไกลออกไป โดยการเพิ่มพลังงานเข้าไปในระบบ ปั๊มน้ำดับเพลิง (Fire Pump) เป็นส่วนหนึ่งของระบบน้ำดับเพลิงแบบสปริงเกอร์ (Fire Sprinkler)หรือระบบ Fire Hose ที่จะทำหน้าที่ป้อนน้ำเข้าสู่ระบบด้วยปริมาณและแรงดันที่เพียงพอต่อการทำงานของระบบดับเพลิง(Fire pump system) ที่ออกแบบไว้

ระบบปั๊มน้ำดับเพลิง (Fire pump system) ประกอบด้วย
• เครื่องสูบน้ำรักษาแรงดัน (Jockey Pump)
• เครื่องสูบน้ำดับเพลิง (Fire Pump)
• ตู้ควบคุมเครื่องสูบน้ำรักษาแรงดัน (Jockey Pump Controller)
• ตู้ควบคุมเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (Fire Pump Controller)
• Pressure Relief Valve

ขนาดของเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (Fire Pump)
ตามมาตรฐานสากลนั้น มีการกำหนดขนาดของเครื่องสูบน้ำดับเพลิงได้อย่างชัดเจน ซึ่งในการเลือกใช้จะต้องเลือกให้อยู่ในขนาดที่ระบุไว้ตามตาราง

ลิตร/นาที (แกลลอน/นาที)ลิตร/นาที (แกลลอน/นาที)ลิตร/นาที (แกลลอน/นาที)
1.   95 (25)8.   1,514 (400)15.   7,570 (2,000)
2.   189 (50)9.   1,703 (450)16.   9,462 (2,500)
3.   379 (100)10.   1,892 (500)17.   11,355 (3,000)
4.   568 (150)11.   2,839 (750)18.   13,247 (3,500)
5.   757 (200)12.   3,785 (1,000)19.   15,140 (4,000)
6.   946 (250)13.   4,731 (1,250)20.   17,032 (4,500)
7.   1,136 (300)14.   5,677 (1,500)21.   18,925 (5,000)

ระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิงได้ถูกออกแบบมาให้ทำงานโดยอัตโนมัติ โดยจะรักษาความดันน้ำภายในท่อให้พร้อมที่จะใช้งานได้ตลอดเวลา โดยจะตั้ง ระดับความดันที่สวิทช์ความดัน (Pressure Switch) ไว้ 3 ระดับ สมมุติเช่น
– ระดับความดันที่ 1 (100 Psi.) จะทำให้ Jockey Pump ทำงาน
– ระดับความดันที่ 2 (120 Psi.) จะทำให้ Jockey Pump หยุดทำงาน (เป็นระดับความดันภายในท่อปกติ)
– ระดับความดันที่ 3 (80 Psi.) จะทำให้ Fire Pump ทำงาน

ในภาวะปกติถ้าความดันของน้ำภายในท่อลดลงต่ำกว่าที่ตั้งเอาไว้ที่สวิตช์ความดันระดับที่1 เช่น ระบบท่อมีการรั่วซึมเล็กน้อย จะทำให้เครื่องสูบน้ำ JOCKEY PUMP ทำงานจนกระทั่งภายในท่อมีความดันตามที่กำหนด (ระดับความดันที่ 2) จึงจะหยุดทำงาน
ถ้ามีการดึงสายฉีดน้ำดับเพลิงออกมาใช้งานจะทำให้เกิดความดันลดลงอย่างรวดเร็ว Jockey Pump ก็จะทำงาน แต่ทำงานแล้วยังไม่สามารถ ควบคุมความดันไว้ให้สูงกว่าระดับความดันที่ 3 ฉะนั้นเมื่อความดันน้ำในท่อลดลงมาถึงระดับความดันที่ 3 เครื่องสูบน้ำ Fire Pump ก็จะทำงานทันที
เมื่อหยุดใช้สายฉีดน้ำดับเพลิงแล้ว ความดันในท่อจะเพิ่มขึ้นจนถึงระดับความดันที่ 2 Jockey Pump ก็จะหยุดทำงาน แต่เครื่องสูบน้ำ Fire Pump จะไม่หยุดทำงาน จะต้องมีคนไปปิดสวิทช์หยุดการทำงานของ Fire Pump ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะถ้าให้เครื่องสูบน้ำ Fire Pump หยุดทำงานอัตโนมัติ อาจเกิดปัญหาเมื่อเครื่องยนต์หยุดการทำงานเองขณะที่มีเหตุเพลิงไหม้ได้ ฉะนั้นตามมาตรฐาน NFPA 20 จึงแนะนำให้การทำงานของระบบ Fire Pump เป็นแบบเริ่มทำงานแบบอัตโนมัติและหยุดการทำงานด้วยมือ

สำหรับระบบการป้องกันของเครื่องยนต์โดยให้หยุดการทำงาน มีกรณีเดียว คือความเร็วรอบเกิน (Over Speed) เพราะจะเป็นเหตุทำให้เกิดความเสียหายกับปั๊มน้ำ หรือทำให้ความดันน้ำในท่อมากเกินไปซึ่งอาจทำให้เป็นอันตรายต่ออุปกรณ์ต่างๆในระบบท่อ แต่ในการติดตั้งระบบดับเพลิงก็จะมีการติดตั้ง Pressure Relife Valve ซึ่งเป็นอุปกรณ์ระบายน้ำ เมื่อมีความดันน้ำในท่อมากเกินความต้องการของระบบ

สำหรับการป้องกันเครื่องสูบน้ำดับเพลิงในกรณีอื่น ได้แก่
– ระดับแรงดันน้ำมันเครื่องต่ำกว่าปกติ
– อุณหภูมิของเครื่องยนต์สูงเกินปกติ ,
– ไม่มีไฟ 220 โวลท์ AC. เข้ามาจ่ายเข้าตู้ควบคุม
– แบตเตอรี่ชุดที่ 1 หรือชุดที่ 2 เสื่อม
เมื่อเกิดเหตุกรณีดังกล่าวขึ้น ก็จะมีเสียงกระดิ่งเตือน และสัญญาณไฟโชว์ที่หน้าตู้ แต่เครื่องยนต์จะไม่ดับต้องให้คนมาเป็นคนดับเครื่องเองเท่านั้น

สอบถามข้อมูลสินค้าเพิ่มเติมได้ที่
https://bgrimmtrading.com/contact-us/
อีเมล: [email protected]
เบอร์โทรศัพท์ : +66 (0) 2710 3211

ใหม่!! เครื่องฟอกอากาศ Carrier One มาพร้อมแสง UV ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสได้มากถึง 99.99%

cover article air purifier

ใหม่!! Air purifier เครื่องฟอกอากาศแคเรียร์ อากาศสะอาดยิ่งขึ้นกับฟังค์ชันใหม่ที่มาพร้อม แสง UV ช่วยในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสได้มากถึง 99.99%

จากงานวิจัยที่แพร่หลายได้พิสูจน์แล้วว่า UV ทำงานได้ดีเท่าๆกับระบบใหญ่ Longlife และหลอดไฟ UVC ที่ใช้ฆ่าเชื้อโรคจะมีการเคลือบสารพิเศษที่รักษาความเข้มข้นของมันไว้ได้ เราได้ทำการปรับแต่งการใช้งานของ uv เพื่อให้ถึงจุดที่ผลึกหลอดไฟมีมาตรฐานยิ่งขึ้น เพื่อให้เครื่องฟอกอากาศสามารถทำงานได้นานถึง 10,000 ชั่วโมง การฆ่าเชื้อโรคจะมีประสิทธิภาพสูงขึ้นเมื่อ ฟอกอากาศใช้งานร่วมกับแสง UV อัตราการฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสมากถึง 99.99% ได้รับรอง โดยการทดสอบจาก Third party

มีการออกแบบตัวเครื่องที่สวยงาม เรียบหรูมีสไตล์ซึ่งภายในตัวเครื่องมีแผ่นกรองฝุ่น HEPA Filter ดักจับฝั่นละอองต่างๆ ทีมีขนาดเล็กและแผ่น Activated Carbon Filter กรองกลิ่น เพื่อประสิทธิภาพในการดักจับกลิ่นไม่พึงประสงค์ พร้อมระบบทำงานแบบ IONIZER ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบพลาสม่าคลัสเตอร์ มีการพ่นอนุภาคไฟฟ้าบวกและลบ ทำให้ห้องสะอาดปราศากเชื้อโรคต่างๆ อย่างรวดเร็วเป็นการทำงานร่วมกับเซ็นเซอร์ตรวจจับฝุ่น เพื่อประสิทธิภาพที่ดีที่สุดสำหรับคุณและทุกคนในครอบครัว

ข้อมูลสินค้าสินค้าเพิ่มเติม https://bgrimmtrading.com/product/airone/

สอบถามข้อมูลสินค้าเพิ่มเติมได้ที่
https://bgrimmtrading.com/contact-us/
อีเมล: [email protected]
เบอร์โทรศัพท์ : +66 (0) 2710 3242

การคำนวณ BTU ก่อนเลือกซื้อแอร์

Cover article check BTU

คำนวน BTU ก่อนเลือกซื้อแอร์

ทำไมต้องเลือก BTU แอร์ ให้พอเหมาะกับขนาดของห้อง

• ถ้าเลือก BTU สูงไป คอมเพรสเซอร์จะตัดบ่อยเกินไป ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานน้อยลง ความชื้นในห้องสูงทำให้สิ้นเปลืองพลังงานและราคาสูงเกินความจำเป็น
• ถ้าเลือก BTU ต่ำไป คอมเพรสเซอร์จะทำงานหนัก เพราะความเย็นห้องไม่ได้ตามอุณหภูมิที่ตั้งไว้ ทำให้สิ้นเปลืองพลังงาน ส่งผลให้อายุการใช้งานของแอร์สั้นลง ทำให้มีโอกาสเสียเร็วขึ้น รวมถึงทางแบรนด์ผู้ผลิต โรงงาน ศูนย์บริการ ในฐานะเจ้าของผลิตภัณฑ์อาจจะไม่ได้รับประกันในตัวสินค้า กรณีตัวสินค้ามีปัญหา เนื่องจากการใช้งานผิดสเป็ค ผิดประเภท หรือผิดขนาด

 

การเลือกขนาด BTU ของแอร์ให้เหมาะสมกับพื้นที่ของห้อง จะช่วยให้แอร์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ไม่สิ้นเปลืองพลังงาน และประหยัดค่าใช้จ่าย

รายละเอียดและปัจจัยต่างๆที่ควรพิจารณาเพิ่มเติม

  1. ขนาดห้องของหน้าต่างและมุมต่างๆของห้อง
  2. ทิศทางของห้องนั้นๆว่าโดนแดดมากน้อยเพียงใด
  3. วัสดุหลังและคามีฉนวนกันความร้อนภายในบ้านหรือไม่
  4. จำนวนบุคคนที่ใช้งานในห้องนั้นๆ

วิธีตรวจเช็ค อุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้าน เมื่อผ่านอายุการใช้งานมานาน

Cover check electrical equipment on your home

วิธีตรวจเช็ค อุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้าน เมื่อผ่านอายุการใช้งานมานาน

การตรวจรักษาระบบไฟฟ้าในบ้าน อาจจะฟังดูยากสำหรับใครหลายๆคน แต่หัวขี้อนี้เราจะมาอธิบายพื้นฐานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าที่คนทั่วไปสามารถตรวจสอบเองได้ เมื่อเจอปัญหาเล็กๆสามารถตรวจดูพื้นฐานได้เองค่ะ ระบบไฟฟ้าถือว่าเป็นเรื่องสำคัญอีกหนึ่งอย่าง เนื่องจากหลายครอบครัวมีทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เพื่อเป็นการป้องกันสิ่งที่ไม่คาดคิดให้กับคนที่คุณรัก

มิเตอร์ไฟฟ้า

วิธีการตรวจสอบคือต้องปิดสวิตซ์ไฟภายในบ้านทุกจุด ถอดปลั๊กอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าออกให้หมด และดูที่มิเตอร์หน้าบ้านว่าเฟืองเหล็กหมุนอยู่หรือไม่ เพราะหากยังหมุนอยู่แสดงว่ามีกระแสไฟรั่ว ให้ลองตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดอื่น ๆ เช่น เครื่องตัดไฟรั่วว่ายังทำงานดีอยู่หรือไม่ ด้วยการกดปุ่มทดสอบ ซึ่งถ้ายังใช้งานได้ดี สวิตช์หรือคันโยกจะตกลงมาทันที เพื่อตัดกระแสไฟฟ้า แต่ถ้าเครื่องตัดไฟรั่วไม่ทำงาน ก็ต้องเรียกช่างมาแก้ไข

ตรวจสอบเมนสวิตช์

คัตเอ๊าต์และเบรกเกอร์ยังสามารถใช้ปลดวงจรไฟฟ้าได้หรือไม่ หากมีอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าเสียก็ควรเปลี่ยนใหม่ให้เรียบร้อย

สวิตช์ตัดตอนชนิดคัดเอาท์

  • ตัวคัทเอาท์และฝาครอบต้องไม่แตก
  • ใส่ฟิวส์ให้ถูกขนาดและมีฝาครอบปิดให้มิดชิด
  • ห้ามใช้วัสดุอื่นใส่แทนฟิวส์
  • ขั้วต่อสายที่คัทเอาท์ต้องแน่นและใช้ขนาดสายให้ถูกต้อง
  • ใบมีดของตัทเอาท์เมื่อสับใช้งานต้องแน่น

เบรกเกอร์

  • ตรวจสอบฝาครอบเบรคเกอร์ต้องไม่แตกร้าว
  • ต้องมีฝาครอบปิดเบรคเกอร์ให้มิดชิด
  • ต้องติดตั้งในที่แห้งไม่เปียกชื้นและห่างไกลจากสารเคมีสารไวไฟต่าง ๆ
  • เลือกเบรคเกอร์ที่มีขนาดเหมาะสมกับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า

ตรวจสอบสายไฟว่ามีส่วนที่ชำรุดหรือไม่

สายไฟหากไม่ได้ใส่ใจตรวจสอบให้ดี ก็สามารถเปื่อยและพังได้ วิธีตรวจสอบสายไฟ

  • สังเกตจากฉนวนจะแตกและแห้งกรอบ ซึ่งฉนวนสายไฟที่ชำรุดอาจจะเกิดจากการถูกหนูหรือแมลงสาบกัดแทะหรือสายไฟใกล้แหล่งความร้อน
  • จุดต่อสายไฟต้องให้แน่น หน้าสัมผัสให้ดี พันฉนวนให้เรียบร้อยขนาดของสายไฟฟ้า ใช้ขนาดของสายให้เหมาะสมกับปริมาณกระแสที่ไหลในสาย หรือให้เหมาะสมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าในวงจรนั้น
  • สายไฟฟ้าต้องไม่เดินอยู่ใกล้แหล่งความร้อน สารเคมี หรือถูกของหนักทับ เพราะทำให้ฉนวนชำรุดได้ง่าย และเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรขึ้นได้
  • สายไฟฟ้าต้องไม่พาดบนโครงเหล็ก รั้วเหล็ก ราวเหล็ก หรือส่วนที่เป็นโลหะต้องเดินสายไฟฟ้าโดยใช้พุกประกับ หรือร้อยท่อให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่วลงบนโครงโลหะ ซึ่งจะเกิดอันตรายขึ้นได้

ตรวจสอบปลั๊กไฟให้เรียบร้อย

จะต้องตรวจสอบปลั๊กไฟว่ามีรอยไหม หลวม และมีรอยแตกร้าวหรือไม่ ถ้าเจอว่าเต้ารับหลวมก็ขันสกรูให้แน่นดังเดิม แต่ถ้ามีรอยแตกให้เปลี่ยนใหม่ทันที และควรตรวจสอบเต้ารับทุกจุดว่ามีไฟหรือไม่ โดยการใช้ไขควงวัดไฟ หรือจะใช้หลอดทดสอบวัดดูเอาก็ได้ ถ้าหลอดไฟสว่างขึ้นแสดงว่าเต้ารับยังใช้งานได้

เต้ารับ-เต้าเสียบ

  • เต้ารับ เต้าเสียบ ต้องไม่แตกร้าว และไม่มีรอยไหม้
  • การต่อสายที่เต้ารับและเต้าเสียบ ต้องให้แน่น และใช้ขนาดสายให้ถูกต้อง
  • เต้าเสียบ เมื่อเสียบใช้งานกับเต้ารับต้องแน่น
  • เต้ารับ ต้องติดตั้งในที่แห้ง ไม่เปียกชื้นหรือมีน้ำท่วม และควรติดให้พ้นมือเด็กเล็กที่อาจเล่นถึงได้

แผงสวิตช์ไฟฟ้า

  • ต้องติดตั้งในที่แห้งไม่เปียกชื้นและสูงพอควร ห่างไกลจากสารเคมีและสารไวไฟต่าง ๆ
  • ตรวจสอบดูว่ามี มด แมลงเข้าไปทำรังอยู่หรือไม่ หากพบว่ามี ให้ดำเนินการกำจัด
  • อย่าวางสิ่งกีดขวางบริเวณแผงสวิตช์
  • ควรมีผังวงจรไฟฟ้าโดยสังเขปติดอยู่ที่แผงสวิตช์ เพื่อให้ทราบว่าแต่ละวงจรจ่ายไฟไปที่ใด
  • แผงสวิตช์ที่เป็นตู้โลหะควรทำการต่อสายลงดิน

ตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด

ควรตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดที่มีการจับต้องขณะใช้งาน อย่างเช่น เครื่องซักผ้า โดยดูว่าเกิดกระแสไฟรั่วขึ้นหรือไม่ ด้วยการใช้ไขควงวัดไฟและแตะลงไปที่ตัวอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ถ้าหากหลอดติดแสดงว่าเกิดไฟรั่วขึ้น ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการใช้สายไฟยึดกับส่วนที่เป็นโลหะของตัวเครื่อง จากนั้นนำไปยึดกับตะปูที่ตอกติดอยู่กับพื้น เพื่อนำกระแสไฟที่รั่วให้ไหลลงสู่ดิน เพื่อไม่ให้ผู้ใช้งานเกิดอันตราย

ปกป้องบ้านของคุณจากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียด้วยแสง UV-C​

Cover article UVC

ปกป้องบ้านของคุณจากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียด้วยแสง UV-C

โคมไฟแสง UV-C สำหรับฆ่าเชื้อโรค โคมไฟตั้งโต๊ะ จากฟิลิปส์

ข้อมูลสินค้า

• ใช้งานง่าย พร้อมแผงควบคุมที่ชัดเจนและคำแนะนำแบบเสียง
• เพิ่มการป้องกันอีกระดับด้วยเซ็นเซอร์จับการเคลื่อนไหวและตัวตั้งเวลา
• จากการทดสอบในห้องแล็บ พบว่าแหล่งกำเนิดแสง UV-C ของเราสามารถลด SARS-CoV-2 (ไวรัสที่ทำให้เกิดเชื้อโควิด-19) บนพื้นผิวจนต่ำกว่าระดับที่ตรวจจับได้ในเวลาเพียง 9 วินาที³
• ยับยั้งเชื้อโรคบนพื้นผิวและวัตถุได้ในเวลาเพียงไม่กี่นาที¹
• หลอดไฟแสง UV-C ประสิทธิภาพสูง ฟิลิปส์ (254nm)
• มีโหมดการตั้งเวลาเวลาในการยับยั้งเชื้อโรค 15 30 45 นาที
• เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่มีสารตกค้างทั้งระหว่างการใช้งาน และหลังจากใช้งานเสร็จแล้ว สามารถเข้าห้องได้ทันที
• ออกแบบเป็นทรงเหลี่ยมสวยงาม เข้ากันได้กับทุกห้อง
• มีการโต้ตอบด้วยเสียง เพื่อบอกผู้ใช้งานถึงขั้นตอนการตั้งค่าต่างๆ ในการฆ่าเชื้อโรค
• มีเซ็นเซอร์แบบไมโครเวฟเพื่อตรวจจับการเคลื่อนไหวของบุคคล, สัตว์เลี้ยง, และวัตถุ ในรัศมี 3 เมตร
• สายไฟแบบยาวพิเศษถึง 2.9 เมตร
• รับประกัน 1 ปี
• ฟิลิปส์มีประสบการณ์กว่า 35 ปีในด้านอุปกรณ์แสง UV-C
• การออกแบบไดรเวอร์เพื่อประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อโรคโดยเฉพาะ

การใช้งาน

ใช้งานภายในบ้าน, ห้องรับแขก, ห้องนอน, ครอบคลุมพื้นที่ขนาดเล็ก และห้องต่างๆ ขนาดไม่เกิน 25 ตารางเมตร

ข้อควรระวัง

การสัมผัสรังสี UV-C สามารถเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ โปรดทำตามแนวทางความปลอดภัยจากคู่มือผลิตภัณฑ์ก่อนใช้งาน

รายละเอียดสินค้า

สินค้า : โคมไฟตั้งโต๊ะ UV-C disinfection desk lamp
แรงดันไฟฟ้า : 220-240Vac 50/60Hz
กำลังไฟฟ้า : 24 วัตต์
อายุการใช้งานหลอด : 9000 ชั่วโมง
ขนาด : I2 x I2 x 24.7 ซม.
น้ำหนัก : 1200g
สี : Silver 

พร้อมจำหน่ายแล้ว!! ที่ SHOPEE : https://bit.ly/3iklB6a

สินค้า UV-C ได้ผ่านการทดสอบมาตราฐานสินค้าและรับรองความปลอดภัยเป็นที่เรียบร้อย โดยมีหนังสือแจ้งทางการลงวันที่ 30 มีนาคม 2564

การเลือกใช้เครื่องสูบน้ำดับเพลิง

Cover article Firepump

การจะเลือกใช้เครื่องสูบน้ำดับเพลิง แบ่งเป็น 2 ประเภท

การติดตั้ง Fire Pump จะมีด้วยกัน 2 ประเภท คือ แบบนอน (Horizontal) และแบบตั้ง (Vertical) ซึ่งการเลือกลักษณะตามการติดตั้งนั้น จะต้องคำนึงถึงระดับน้ำเริ่มต้นที่ใช้เครื่องสูบน้ำดับเพลิงดูดและจ่ายออกไปยังระบบท่อดับเพลิง ส่วนประเภทของระบบต้นกำลังของเครื่องสูบน้ำดับเพลิงมี 2 ประเภท คือ แบบเครื่องยนต์ดีเซลและแบบมอเตอร์ไฟฟ้า โดยระบบทั้งสองประเภทสามารถใช้กับเครื่องสูบน้ำดับเพลิงทั้งแบบนอนและตั้ง

  1. เครื่องสูบน้ำดับเพลิง Fire Pump แบบนอนนั้น ระดับของแหล่งน้ำดับเพลิงจะต้องมีระดับสูงกว่าระดับท่อดูดน้ำของเครื่องสูบน้ำดับเพลิง โดยเครื่องสูบน้ำดับเพลิงแบบนอนนี้จะมีหลายลักษณะ เช่น แบบหอยโข่ง เป็นต้น

ภาพแสดงการติดตั้งปั๊มชนิด Horizontal

2. เครื่องสูบน้ำดับเพลิงแบบตั้ง Vertical Turbine Pump แหล่งน้ำดับเพลิงมีระดับน้ำต่ำกว่าระดับท่อดูดน้ำของเครื่องสูบน้ำดับเพลิงจะต้องทำการเลือกเครื่องสูบน้ำดับเพลิงเป็นแบบตั้ง (Vertical Type) เท่านั้น โดยการออกแบบและติดตั้งจะต้องมีการจัดสร้างตะแกรงกันขยะ หรือเศษสิ่งของต่างๆ ที่จะเข้ามาในบ่อน้ำที่ใช้สำหรับการดูดน้ำของเครื่องสูบน้ำดับเพลิง รวมทั้งการติดตั้งตัวกรอง (Strainer) ไว้ที่ปลายของท่อดูดเสมอ

ภาพแสดงการติดตั้งปั๊มชนิด Vertical Turbine

ระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (Fire Pump System) เป็นระบบปั๊มน้ำดับเพลิงที่มีให้เลือกเหมาะกับงานหลากหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นระบบขนาดเล็ก หรือขนาดใหญ่ และการควบคุมการทำงานได้ทั้งแบบ MANUAL และAUTOMATIC

เครื่องสูบน้ำดับเพลิงรักษาแรงดันในระบบ (Jocky Pump) โดยปกติเป็นเครื่องสูบน้ำที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นต้นกำลัง หน้าที่ของเครื่องสูบน้ำดับเพลิงรักษาแรงดันนี้ คือการเติมน้ำทดแทนน้ำส่วนที่อาจมีการรั่วซึมออกไปจากระบบท่อน้ำดับเพลิง โดยเครื่องสูบน้ำนี้จะทำงานโดยอัตโนมัติเมื่อแรงดันภายในระบบท่อน้ำดับเพลิงลดลงจากระดับที่กำหนดไว้

และเมื่อมีการเติมน้ำอยู่ในระดับปกติแล้ว เครื่องสูบน้ำนี้จะหยุดเองโดยอัตโนมัติเช่นกันห้องเครื่องสูบน้ำดับเพลิงจะต้องมีเส้นทางการเข้าออกที่ปลอดภัยและสามารถเข้าได้โดยสะดวกตลอดเวลา ตำแหน่งของห้องควรจะอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบายอากาศได้ดีและไม่มีน้ำท่วมขัง ผนังห้องเครื่องสูบน้ำดับเพลิงจะต้องมีอัตราการทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง

อุปกรณ์ป้องกันไฟดูด RCCB และ RCBO

Cover article RCCB RCBO

อุปกรณ์ป้องกันไฟดูด RCCB และ RCBO

เบรกเกอร์กันไฟรั่ว/ไฟดูด มีหน้าที่ป้องกันไฟรั่วไฟดูด โดยจะตัดวงจรอัตโนมัติเมื่อมีค่ากระแสไฟรั่วตามค่าที่กำหนด อาทิ เครื่องซักผ้าชำรุด ทำให้มีกระแสไฟรั่วออกมาที่ตัวเครื่อง เมื่อเราไปจับหรือสัมผัสเบรกเกอร์ก็จะตัดวงจรเพื่อไม่ให้เกิดอันตราย(ไฟดูด)กับผู้ใช้งานนั่นเอง

เบรกเกอร์กันไฟรั่ว/ไฟดูด(RCCBs) รุ่นล่าสุด 5SV และรุ่น 5SM จะ ตัดวงจรอัตโนมัติเมื่อมีค่ากระแสไฟรั่วตามค่าที่กำหนด ส่วนเบรกเกอร์กันไฟรั่ว/ไฟดูด/ไฟเกิน/ไฟช็อต (RCBOs) รุ่น 5SU9 เป็น อุปกรณ์ที่ควบรวมคุณสมบัติของ RCCBs และ MCBs เข้าไว้ด้วยกัน สามารถตัดวงจรอัตโนมัติเมื่อมีค่ากระแสไฟรั่วที่ 10 และ 30 มิลลิแอมแปร์

คุณสมบัติกลุ่มผลิตภัณฑ์เบรกเกอร์กันไฟดูด-ไฟรั่ว RCCB

  • RCCBs ทำหน้าที่ป้องกันไฟรั่ว/ไฟดูด จะตัดวงจรอัตโนมัติเมื่อเกิดไฟรั่ว/ไฟดูดตามค่าที่กำหนด
  • เป็นอุปกรณ์ที่ใช้หลักการของแม่เหล็กไฟฟ้า ( Electromagnetic) ซึ่งเป็นระบบที่มีความน่าเชื่อถือสูงที่สุด
    สามารถตัดวงจรไฟฟ้าในกรณีที่สายนิวตรอน (Neutral) หลุดหรือขาด
  • สามารถเชื่อมต่อกับเบรกเกอร์รุ่น 5SL เพื่อเพิ่มฟังก์ชันในการป้องกันไฟฟ้าเกินพิกัด (overload)
    และไฟฟ้าช็อต/ลัดวงจร (short circuit) ได้
  • มีให้เลือกทั้ง 1 Pole และ 2 Pole (ระบบไฟฟ้า 1 เฟส) และ 4 โพล (ระบบไฟฟ้า 3 เฟส)
  • สามารถใช้กับแรงดันไฟฟ้า 240 /415 VAC

คำแนะนำเพิ่มเติม
ตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทยแนะนำให้ ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วไฟดูดมีพิกัดกระแสรั่ว ไม่เกิน 30 มิลลิแอมป์ สำหรับการใช้ไฟฟ้าใน ห้องน้ำ โรงจอดรถ ห้องครัว รวมไปถึงการใช้งานภายนอกอาคาร และวงจรย่อยสำหรับอุปกรณ์เครื่องทำน้ำอุ่นอุ่น น้ำร้อน และ อ่างอาบน้ำวน

การป้องกันไฟฟ้าดูดโดยใช้เครื่องตัดไฟรั่วที่อยู่อาศัย

  • วงจรเต้ารับในบริเวณห้องน้ำ ห้องอาบน้ำ โรงจอดรถยนต์ ห้องครัว ห้องใต้ดิน
  • วงจรเต้ารับในบริเวณ อ่างล้างชาม อ่างล้างมือ (บริเวณพื้นที่ เคาน์เตอร์ ที่มีการติดตั้งเต้ารับภายในระบบ5 เมตร ห่างจากขอบด้านนอกของอ่าง)
  • วงจรเต้ารับในบริเวณชั้นล่าง (ชั้น1) ห้องใต้ดินรวมถึงในบริเวณที่อยู่ต่ำกว่าระดับผิวดิน ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงที่มีสถิติน้ำเคยท่วมถึง หรืออยู่ในพื้นที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล

ทำความรู้จักกับตู้คอนซูเมอร์ยูนิต ซีเมนส์

Cover article consumer unit

ทำไม ต้องตู้คอนซูเมอร์ยูนิต ซีเมนส์

ตู้คอนซูเมอร์ยูนิต ซีเมนส์ รุ่น ALPHA SIMBOX ใช้สำหรับใส่ อุปกรณ์ MCBs, RCBOs/RCCBs, Surge Protection ตัวตู้ผลิตจาก เหล็กเกรดเอ คุณภาพสูง หนาพิเศษ มีความแข็งแรงทนทาน ไม่เป็น สนิม มีรูปลักษณ์ทันสมัย ใช้ติดตั้งภายในอาคารและที่พักอาศัย ผลิต ตามมาตรฐานสากล และ มอก. 1436-2540 มีรุ่นให้เลือกตามการใช้งาน ตั้งแต่ 4 – 20 ช่อง

ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต ซีเมนส์
• รวมการทำงานของระบบไฟฟ้าไว้ที่เดียว
• ทำงานร่วมกับอุปกรณ์ตัดต่ออัตโนมัติไม่ใช้ Fuse ไม่ขาดเมื่อเกิดปัญหา
• สามารถเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันให้เหมาะสมกับการใช้งาน
• สวยงามในการติดตั้ง
• มีมาตราฐานในการออกแบบและการทดสอบ

คุณสมบัติของตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต Alpha Simbox Siemens

1. ตัวตู้ทำจากเหล็กหนา 0.8mm มั่นใจได้ถึงความทนทานและอายุการใช้งาน
2. ทำจากเหล็กเกรดพิเศษพร้อมทาสีระบบแป้งฝุ่น (แบบรถยนต์) ทนการกระเทาะและรอย ขีดข่วน สีไม่หลุดร่อน
3. ตัวตู้ผลิตจากเหล็กทั้งหมด มั่นใจได้ว่าสามารถต่อลงดินได้
4. ออกแบบโดยวิศวกรผู้ชำนาญการณ์ ผลิตโดยใช้ Technology เดียวกันกับตู้ไฟฟ้าขนาดใหญ่
5. มีให้เลือกได้หลากหลายขนาด และสามารถใช้ได้กับอุปกณ์ป้องกันทางไฟฟ้าได้หลากหลาย
6. ตัวตู้ผลิตในประเทศไทยสนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศ
7. รับประกันการใช้งาน 12 ปี

มาตราฐาน

1. ผ่านมาตราฐาน มอก 1436-2540 ซึ่งเทียบเคียงมาตราฐานสากล IEC 60439-1 สำหรับตู้ควบคุมไฟฟ้า
2. ผ่านมาตราฐานสากล IEC60439-3 สำหรับตู้ควบคุมไฟฟ้าที่ติดตั้งในพื้นที่รวมกับบุคคลทั่วไป
3. ผ่านการทดสอบการใช้จากการไฟฟ้านครหลวงตามมาตรฐานสากล

เราทดสอบอะไรไปบ้าง
1. รายละเอียดผลิตภัณฑ์ที่ระบุ การแสดงเครื่องหมาย พิกัดการใช้งาน
2. ทดสอบอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นขณะใช้งานเต็มพิกัด
3. ทดสอบความเป็นฉนวนและการต่อลงกราวด์
4. ทดสอบแรงดันสูง (Voltage withstand)
5. ระดับการป้องกันและการปกปิดระบบไฟฟ้า
6. ทดสอบการทนต่อการเกิดสนิมและความคงทนในการใช้งาน
7. ทดสอบความแข็นแรงและการทนอุณหภูมิของฉนวน
8. ทดสอบการลามไฟ
9. ทดสอบการใช้งานในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง

การออกแบบตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต