รถยนต์ไฟฟ้าปลอดภัยจริงไหม เสียค่าไฟเท่าไร

electric car charge bgrimm trading

ปีที่แล้วยอดขายของรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกโตชนิดสวนทางกับสถานการณ์โควิด ขายไปได้มากกว่า 6.4 ล้านคัน (เป็นแบบไฮบริด 2.4 ล้านคัน) นำโดยจีน สหรัฐอเมริกา และยุโรป เติบโตขึ้นเกือบสองเท่าจากปีก่อนหน้า แสดงให้เห็นถึงกระแสความนิยมและความมั่นใจที่ผู้คนทั่วโลกมีต่อเทคโนโลยีของรถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

หากคุณเองก็กำลังสนใจรถยนต์ไฟฟ้า แต่ยังไม่แน่ใจว่ารถประเภทนี้มีการทำงานยังไง จะปลอดภัยและคุ้มค่าไหมหากซื้อมาใช้งาน วันนี้เราจะมาช่วยไขข้อข้องใจว่ารถยนต์ไฟฟ้าคืออะไร ชาร์จไฟอย่างไร และชาร์จครั้งนึงต้องจ่ายค่าไฟเท่าไรกัน

รถยนต์ไฟฟ้าคืออะไร

รถยนต์ไฟฟ้าหรือรถ EV (Electric vehicle) เป็นนวัตกรรมยานยนต์ที่ใช้ไฟฟ้าในการขับเคลื่อน 100% มีส่วนประกอบหลักคือ แบตเตอรี่ อุปกรณ์แปลงกระแสไฟฟ้า และมอเตอร์ไฟฟ้า โดยแบตเตอรี่จะทำหน้าที่เก็บพลังงานไฟฟ้า ส่วนตัวแปลงกระแสจะเปลี่ยนไฟฟ้าเป็นกระแสสลับและส่งไปยังมอเตอร์เพื่อขับเคลื่อนรถยนต์ ข้อดีของการใช้ไฟฟ้าก็คือการทำงานของเครื่องยนต์จะเงียบ ไร้เสียงรบกวน ไม่มีการปล่อยไอเสีย และประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางในยุคที่ค่าน้ำมันแพงแบบนี้

ปลอดภัยไหม?

รถยนต์ไฟฟ้าแทบทุกรุ่นในท้องตลาดทั่วโลก (และทุกรุ่นที่ขายในไทย) ใช้แบตเตอรีลิเธียม-ไอออน (Lithium-ion) ซึ่งมีคุณสมบัติเด่นคือน้ำหนักเบาจึงช่วยประหยัดพลังงาน ประสิทธิภาพในการชาร์จสูงและเสถียร มีอายุการใช้งานที่ยาวนานรวมถึงไม่มีสารที่เป็นอันตรายต่อธรรมชาติจึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ถึงแม้ว่าแบตลิเธียมไออนสามารถติดไฟได้ในกรณีที่ตัวเครื่องได้รับความเสียหายและเกิดไฟฟ้าลัดวงจรหรือที่เรียกว่า Thermal runaway หรือการระเบิดจากความร้อนต่อเนื่อง ซึ่งจากงานวิจัยพบว่าโอกาสที่จะเกิดขึ้นนั้นน้อยมากเพียง 1 ใน 100 ล้านโดยเฉพาะหากมีการใช้งานอย่างถูกต้อง เมื่อเทียบกับรถยนต์ทั่วไปที่ใช้การเผาไหม้ของน้ำมันเชื้อเพลิง โอกาสที่จะเกิดไฟลุกลามย่อมสูงกว่ามาก

ชาร์จแบตยังไง นานแค่ไหน? เท่าไร?

รถยนต์ไฟฟ้าสามารถชาร์จได้ 2 แบบ คือการชาร์จแบบธรรมดา (AC Charge/Normal Charge) และการชาร์จแบบด่วน (Quick Charge/Fast Charge)

การชาร์จแบบ AC (Alternative Current หรือไฟฟ้ากระแสสลับ) คือการชาร์จที่บ้านโดยใช้ EV Charger หรือเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า ระยะเวลาที่ใช้ในการชาร์จจะอยู่ที่ประมาณ 4-16 ชม. ขึ้นอยู่กับยี่ห้อ รุ่นของรถยนต์ และขนาดของ On-Board Charger เช่น รถที่มีความจุแบตเตอรีที่ 60-90 kW จะวิ่งได้ประมาณ 300-500 กม. ต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง ส่วนอัตราค่าชาร์จจะอยู่ที่ประมาณ 0.5 – 1.09 บาท/กิโลเมตร ในขณะที่น้ำมันรถทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 3-5 บาท/กิโลเมตร เรียกว่าช่วยประหยัดค่าน้ำมันรถไปได้ร่วม 3 เท่าสำหรับการชาร์จไฟเองที่บ้าน

ข้อแนะนำ

  • ตรวจสอบขนาดมิเตอร์ที่บ้าน ขั้นต่ำควรอยู่ที่ 30(100) แอมป์ (A) เพราะรถ EV จะกินกระแสไฟฟ้าขณะชาร์จอย่างต่อเนื่องมากกว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ ภายในบ้าน
  • ต้องติดตั้งเต้ารับ (Socket) โดยเฉพาะสำหรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า
  • ควรเลือกเครื่องชาร์จที่มีกำลังชาร์จเหมาะสมกับขนาดของ On-Board Charger ของรถยนต์ไฟฟ้าของคุณ
  • แนะนำให้ชาร์จแบตให้เต็มสัปดาห์ละครั้งเพื่อกระตุ้นเซลล์เก็บประจุให้ทำงานครบ จะช่วยยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี

การชาร์จแบบด่วน (Quick Charge/Fast Charge หรือ DC Charge) เป็นการชาร์จในสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ใช้ระยะเวลาน้อยกว่าการชาร์จแบบธรรมดามากแต่ก็มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า โดยเฉลี่ยใช้เวลาประมาณ 30 นาที – 2 ชม. หรือถ้าเป็นแบบ DC High Power ก็สามารถชาร์จแบตเตอรี่ได้ในเวลาเพียง 10 – 20 นาทีเท่านั้น (จาก 0 – 80%) เมื่อปีที่แล้วการไฟฟ้านครหลวงได้กำหนดค่าบริการสำหรับสถานีชาร์จรถไฟฟ้าในอัตรา 2.63 บาทต่อหน่วย และสำหรับรายเดือนที่อัตรา 312.24 โดยจะคงใช้เป็นเวลา 2 ปีก่อนทบทวนใหม่นโยบายสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า

ข้อแนะนำ

  • การชาร์จแบบ DC เป็นประจำจะทำแบตเตอรี่รถยนต์เสื่อมสภาพเร็วขึ้น หากต้องการใช้ควรชาร์จแค่ 2 ใน 10 ครั้งของการชาร์จทั้งหมด เช่นถ้าในหนึ่งเดือน (30 วัน) คุณชาร์จรถทุกวัน คุณไม่ควรชาร์จแบบด่วนเกิน 6 ครั้ง เพื่อเป็นการถนอมแบต

รถยนต์ไฟฟ้าถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยคุณประหยัดทั้งพลังงานและค่าใช้จ่าย หากคุณสนใจสามารถติดต่อ บี.กริม เทรดดิ้ง เราเป็นตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ EV Charger และเรามีผู้เชี่ยวชาญยินดีให้คำแนะนำ ทั้งการเลือกซื้อ EV Charger การเลือกขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าให้เหมาะสม และการติดตั้งกับระบบไฟบ้าน เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย สามารถติดต่อเพื่อปรึกษาเราได้ ที่นี่

สอบถามข้อมูลสินค้าเพิ่มเติมได้ที่
https://bgrimmtrading.com/contact-us/
อีเมล: [email protected]
เบอร์โทรศัพท์ : +66 (0) 2710 3000
Line Official Account :  https://lin.ee/ItAW7DS  @bgrimmtrading

เรื่องล่าสุด