ความแตกต่างระหว่างตู้โหลดเซนเตอร์แบบ Main Lugs และ Main Breaker
การใช้ไฟฟ้านั้นถือเป็นหัวใจของชีวิตประจำวันของคนทั่วโลก ตั้งแต่การใช้ไฟฟ้าภายในอาคารที่พักอาศัยขนาดเล็ก ไปจนถึงการใช้ไฟฟ้าในอาคารหรือสถานที่ขนาดใหญ่ ทำให้เรื่องของการควบคุมระบบไฟฟ้าและการสร้างความปลอดภัยในการใช้งานระบบไฟฟ้าเป็นหนึ่งในเรื่องที่สำคัญมาก ดังนั้นแล้วการใช้ไฟฟ้าภายในอาคารหรือสถานที่ขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ มักจะมีตัวช่วยควบคุมระบบไฟฟ้าภายในอาคารให้มีความปลอดภัยสูงสุด ซึ่งเรียกว่าตู้โหลดเซ็นเตอร์ (Load Center) หรือตู้โหลดนั่นเอง
ตู้โหลดเซ็นเตอร์ (Load Center) หรือตู้โหลดคืออะไร?
ตู้โหลดเซ็นเตอร์ (Load Center) หรือตู้โหลดเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการควบคุมระบบไฟฟ้าภายในอาคารขนาดกลางและขนาดใหญ่ มีลักษณะเป็นตู้เหล็กที่มีฝาเปิดปิดได้ มีหลากหลายขนาดขึ้นอยู่กับจำนวนแผงเซอร์กิตเบรกเกอร์ ซึ่งเบรกเกอร์เหล่านี้จะมีจำนวนมากน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณไฟฟ้าที่ต้องใช้งานในอาคารนั้น ๆ มีหน้าที่ในการควบคุมการจ่ายไฟไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในอาคารนั่นเอง โดยตู้โหลดนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกันได้แก่ตู้โหลดเซ็นเตอร์ชนิด Main Lugs และตู้โหลดเซ็นเตอร์ชนิด Main Circuit Breaker จะมีความแตกต่างกันอย่างไร ติดตามต่อกันในบทความนี้ได้เลย
ตู้โหลด Main Lugs
ตู้โหลดชนิด Main Lugs เป็นตู้โหลดแบบที่ไม่มีเซอร์กิตเบรกเกอร์หลัก (Main Circuit Breaker) อยู่ภายในกล่อง ทำให้เป็นตู้โหลดที่มักจะใช้งานร่วมกันกับ Safety Switch หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่ช่วยควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้าได้อย่างปลอดภัย ทำงานโดยการจ่ายกระแสไฟฟ้าผ่าน Busbar ไปยังเซอร์กิตลูกย่อยอื่น ๆ ทั้งแบบ 1 Pole ซึ่งเหมาะกับใช้งานภายในบ้านพักอาศัย แบบ 2 Pole ที่เหมาะกับการใช้งานเป็นเมนเบรกเกอร์แบบ MCB และ MCCB และแบบ 3 Pole ที่เหมาะสำหรับการใช้งานภายในอาคารพาณิชย์และโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
ข้อดีของการใช้งานตู้โหลดประเภทนี้คือสามารถติดตั้งได้ง่าย ใช้งานง่าย แต่ก็มีข้อควรคำนึงถึงคือไม่ควรใช้ไฟเกิน 80% ของความสามารถในการทนกระแส ในส่วนของราคา เมื่อเทียบกันแล้ว จะเห็นว่าตู้โหลดแบบ Main Lugs มีราคาถูกกว่าแบบ Main Breaker
ตู้โหลด Main Breaker
ตู้โหลดแบบ Main Breaker จะมีเซอร์กิตเบรกเกอร์หลักอยู่ภายในตัวเอง ซึ่งจะเป็นเมนเซอร์กิตเบรคเกอร์ (Main Circuit Breaker) แบบ 3 Pole ชนิด MCCB (Molded Case Circuit Breaker) ที่เหมาะสมกับการใช้งานภายในโรงงานอุตสาหกรรม เพราะสามารถควบคุมการจ่ายไฟฟ้าไปยังไปยัง MCB (Miniature Circuit Breaker) และอุปกรณ์อื่น ๆ ได้อย่างปลอดภัย มักจะมีขนาดให้เลือกทั้งแบบ 12 วงจร ไปจนถึง 42 วงจร ขึ้นอยู่กับขนาดและยี่ห้อด้วยเช่นกัน ตู้โหลดประเภทนี้จะมีราคาที่สูงกว่าแบบ Main Lugs
วิธีการเลือกเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker)
โดยปกติแล้วราคาซื้อขายของตัวตู้โหลดมักจะเป็นราคาที่ไม่ได้รวมเบรกเกอร์ ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจ ควรต้องรู้วิธีการเลือกเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) เพื่อนำมาประกอบกับตู้โหลดให้ได้อย่างปลอดภัยและเหมาะสมเสียก่อน ซึ่งมีเรื่องที่ควรรู้ดังต่อไปนี้
จำนวน Pole
- 1 Pole เป็นเซอร์กิตเบรกเกอร์สำหรับระบบ 1 เฟส ป้องกันแค่สาย Line อย่างเดียวมักจะใช้งานในที่พักอาศัย อาคารขนาดเล็ก
- 2 Pole จะใช้สำหรับระบบ 1 เฟส ป้องกันทั้งสาย Line และสายเส้นศูนย์ (Neutral) ส่วนมากจะถูกนำไปใช้เป็นเบรกเกอร์หลัก มีทั้งที่เป็นเบรกเกอร์แบบ MCB และ MCCB
- 3 Pole จะใช้สำหรับไฟฟ้าระบบ 3 เฟส แต่ป้องกันแค่สาย Line อย่างเดียว เหมาะกับการใช้งานภายในอาคารพาณิชย์และโรงงานอุตสาหกรรม
- 4 Pole จะเหมาะสำหรับไฟฟ้าระบบ 3 เฟส ป้องกันทั้งสาย Line และสายเส้นศูนย์ (Neutral) มีความปลอดภัยสูง สามารถป้องกันสายไฟทั้ง 4 เส้นได้ ถึงแม้ว่าระบบไฟฟ้าจะเกิดความผิดพลาดก็ตาม
อย่าลืมติดตั้งเบรกเกอร์สำหรับตู้โหลดอย่างถูกวิธี
นอกจากการเลือกใช้ตู้โหลดให้เหมาะสมกับการใช้งานแล้ว เรื่องของการติดตั้งเบรกเกอร์อย่างถูกต้อง ถูกวิธี ก็เป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งานให้มากยิ่งขึ้น แถมยังช่วยประหยัดเวลาในการดูแลรักษาและการซ่อมบำรุงอีกด้วย อีกทั้งยังควรมีการทำสอบอุปกรณ์และการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นประจำอย่างน้อยปีละครั้ง
หากต้องการประหยัดเวลาในการติดตั้งตู้โหลดและการเลือกใช้เบรกเกอร์แบบต่าง ๆ ด้วยตัวเอง สามารถติดต่อทีมช่างที่มีความเชี่ยวชาญและมีความชำนาญเฉพาะด้านมาติดตั้งให้ได้อย่างครบวงจรอย่างบี.กริม เทรดดิ้ง เกี่ยวกับบริการติดตั้งและทดสอบตู้โหลดเซนเตอร์ Siemens Breaker และอื่น ๆ ได้ที่โทร. 02-7103000
สอบถามข้อมูลสินค้าเพิ่มเติมได้ที่
https://bgrimmtrading.com/contact-us/
อีเมล: [email protected]
เบอร์โทรศัพท์ : +66 (0) 2710 3232
Line : https://lin.ee/ItAW7DS @bgrimmtrading