สิ่งที่ควรจะคำนึงเบื้องต้นก่อนเริ่มออกแบบแสงสว่าง (Lighting Design)

what-is-lighting-design

สิ่งที่ควรจะคำนึงเบื้องต้นก่อนเริ่มออกแบบแสงสว่าง (Lighting Design)

Lighting Design คืออะไร

“แสงสว่าง” อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการดำเนินชีวิต ที่ไม่ใช่เพียงแค่ช่วยให้สามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์ในการสร้าง Mood and Tone ให้กับสถานที่ นั่นจึงทำให้ ‘การออกแบบแสงสว่าง (Lighting Design)’ กลายเป็นขั้นตอนสำคัญต่อการติดตั้งระบบแสงทั้งภายในและภายนอกอาคาร ซึ่งนอกจากแสงสว่างที่ได้จะต้องเหมาะสมกับสไตล์ของสถานที่แล้ว ยังต้องตอบโจทย์ต่อการใช้อีกด้วย

สำหรับใครที่ยังนึกไม่ออกว่าการออกแบบแสงสว่างเป็นอย่างไร คล้ายกับการออกแบบห้อง ออกแบบที่อยู่อาศัยหรือไม่ และจะต้องมีปัจจัยอะไรบ้างที่ต้องคำนึงถึงก่อนออกแบบ บทความนี้มีคำตอบ

“แสงสว่าง” ออกแบบได้ด้วยจริงหรือ?

หลาย ๆ คนอาจยังไม่รู้ว่าการออกแบบแสงสว่าง (Lighting Design) คืออะไร ทำไมถึงมีความสำคัญ  ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ในการก่อสร้างอาคารหรือสถานที่ต่าง ๆ มักจะมีการออกแบบแสงเพื่อให้เหมาะสมต่อสถานที่นั้น ๆ โดยเน้นว่าแสงที่ออกแบบจะต้องเข้ากับสถาปัตยกรรมหรืออาคาร รวมถึงยังต้องเหมาะกับการใช้งานภายในพื้นที่ในแต่ละสัดส่วน สำหรับในการออกแบบแสงสว่างภายนั้น ถือว่าเป็นหนึ่งในโซลูชันที่จะเข้ามาช่วยจัดการด้านแสงสว่างให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างที่คุณต้องการ ทั้งในเรื่องของความสวยงามและการใช้ประโยชน์จากแสงไฟ

การออกแบบแสงสว่าง (Lighting Design) คืออะไร

กระบวนการออกแบบแสงสว่าง คือการคิดคำนวณ ตลอดจนการวางแผนเกี่ยวกับระบบแสงสว่าง เพื่อหาค่าความส่องสว่างให้เพียงพอต่อการใช้งาน รวมไปถึงมาตรฐานในแต่ละพื้นที่ในกรณีที่สถานที่นั้น ๆ มีการกำหนดแสงที่ต้องใช้เอาไว้อย่างชัดเจน

โดยการออกแบบแสงจะต้องพิจารณาในหลาย ๆ ปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นขนาดของพื้นที่ที่ต้องออกแบบ การตกกระทบและการสะท้อนระหว่างพื้น ผนัง เพดาน ตลอดจนการจัดวางระบบแสงหลักและแสงรอง เพื่อให้เกิดความสว่างให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ โดยการออกแบบแสงสว่างในปัจจุบัน สามารถแบ่งได้หลัก ๆ ทั้งหมด 2 วิธี ดังนี้

  • วิธีออกแบบแสงสว่างแบบ IES (Illumination Engineering Society)

    เป็นวิธีการออกแบบแสงสว่างที่อยู่ภายใต้มาตรฐาน BS หรือ British Standards Exposure lndex โดยรายละเอียดของวิธีนี้ค่อนข้างที่จะซับซ้อน มีทั้งเรื่องของการหาค่าตัวเลขความส่องสว่าง และตัวอักษรที่หมายถึงองค์ประกอบของตำแหน่งการวางแสงสว่างที่ต่างกันอย่าง W = Working Plane, S = Switch และ F = Floor อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่ต้องลงรายละเอียดค่อนข้างมาก ระยะเวลาที่ใช้ในการคำนวณจึงอาจนานนานตามไปด้วย

  • วิธีออกแบบแสงสว่างแบบคำนวณอัตราส่วนของห้อง

    สำหรับการออกแบบแสงจากการคำนวณอัตราส่วนของห้อง เป็นขั้นตอนที่มีความรวบรัดกว่าการออกแบบแสงแบบ IES ซึ่งวิธีการนี้ถูกเสนอโดย CIE International Commission on Illumination ที่กำหนดให้หาจำนวนโคมที่ต้องใช้ภายในพื้นที่ รวมไปถึงระยะห่าง และการเขียนแผนผังการติดตั้งจากการคำนวณอัตราส่วนห้อง โดยจุดประสงค์หลักของการใช้วิธีการนี้ นอกจะเป็นวิธีที่รวบรัดแล้ว ยังประหยัดเวลา อีกทั้งยังช่วยให้สามารถกำหนดกำลังไฟฟ้าที่ต้องใช้ไม่ให้เกินค่าที่กฎหมายกำหนดได้ตรงตามมาตรฐาน จึงเหมาะสำหรับการออกแบบในพื้นที่สำนักงาน หรือสถานที่ราชการที่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับแสงสว่างเอาไว้

งานออกแบบระบบแสงสว่างในแต่ละประเภท

ระบบการออกแบบ Lighting Design

อย่างไรก็ตามการออกแบบแสงสว่างไม่ใช่เพียงแค่การคำนวณหาค่าแสงที่เหมาะสม แต่ยังมีเรื่องของความสวยงามและการใช้งานเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงทำให้การออกแบบแสงสามารถแยกย่อยตามจุดประสงค์ของการติดตั้งได้ถึง 2 ระบบด้วยกัน

ระบบการให้แสงหลัก (Primary Lighting System)

สำหรับระบบการให้แสงสว่างหลัก เรียกได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของการออกแบบแสงสว่างเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นการออกแบบระบบสำหรับการใช้งาน โดยแสงหลักเหล่านี้จะทำหน้าที่ให้ความส่องสว่าง จึงต้องมีการออกแบบให้เพียงพอต่อมาตรฐานการใช้งานในแต่ละพื้นที่ ซึ่งการออกแบบแสงหลักก็สามารถแบ่งเป็นระบบย่อย ๆ ได้ ดังนี้

  • แสงสว่างทั่วไป (General Lighting): การออกแบบให้แสงสามารถกระจายได้ทั่วบริเวณ เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ไม่ต้องการใช้แสงสว่างมากเกินไป หรือต้องการเน้นการประหยัดพลังงานเป็นหลัก 
  • แสงสว่างเฉพาะที่ (Localized Lighting): การออกแบบที่ให้แสงสว่างเฉพาะพื้นที่ หรือเป็นพื้นที่ที่ต้องการใช้งานเท่านั้น ในภาพรวมจึงไม่มีแสงสว่างที่สม่ำเสมอกันเหมือนแบบแรก แต่ก็ยังคงช่วยเรื่องการประหยัดพลังงานได้เช่นกัน
  • แสงสว่างเฉพาะที่และทั่วไป (Local Lighting + General Lighting): การให้แสงสว่างแบบผสมผสานระหว่างแบบทั่วไป และเฉพาะที่ ซึ่งการให้แสงสว่างแบบนี้จะเหมาะกับงานที่ต้องการได้ความส่องสว่างสูง อย่างไรก็ตามจะต้องยอมรับถึงกำลังไฟฟ้าที่ใช้ และค่าไฟที่จะตามมาเช่นกัน

ระบบการให้แสงรอง (Secondary Lighting System)

ในส่วนของระบบการให้แสงรองก็เหมือนกับการใช้เป็นออฟชั่นเสริม ตอบสนองจุดประสงค์การออกแบบแสงเพื่อความสวยงาม ซึ่งระบบแสงรองจะช่วยให้แสงที่ได้ ดึงดูดสายตาและอารมณ์
สำหรับระบบการให้แสงรองสามารถแบ่งเป็นระบบย่อยได้ ดังนี้

  • แสงสว่างแบบส่องเน้น (Accent Lighting): เป็นการออกแบบแสงให้ส่องเน้นเฉพาะจุดใดจุดหนึ่ง หรือใช้กับการส่องเน้นที่วัตถุ เพื่อดึงดูดสายตาให้เกิดความน่าสนใจ ส่วนมากจะใช้ไฟแบบสปอตไลท์ในการออกแบบแสงสว่างส่องเน้น
  • แสงสว่างแบบเอฟเฟค (Effect Lighting): การออกแบบแสงสว่างให้เกิดบรรยากาศที่น่าสนใจ มักจะเจอได้ในรูปแบบของการส่องไฟไปที่กำแพง หรือพื้น เพื่อสร้างรูปแบบต่าง ๆ จากแสงให้เกิดความสวยงาม
  • แสงสว่างตกแต่ง (Decorative Lighting): นับว่าเป็นการออกแบบแสงที่พบเห็นได้บ่อย ๆ โดยจะเน้นไปทางความสวยงามของหลอดหรือโคมไฟ และใช้สำหรับตกแต่งเพื่อให้เป็นที่สนใจ
  • แสงสว่างงานสถาปัตย์ (Architectural Lighting): การออกแบบแสงให้สัมพันธ์กับงานสถาปัตยกรรม เกิดลูกเล่น ความสวยงาม สร้างอารมณ์จากแสงและเงา

สิ่งที่ควรคำนึงระหว่างการออกแบบแสงสว่าง

 Lighting Design เป็นโซลูชันที่สามารถส่งผลต่อความพึงพอใจ ทัศนวิสัย และบรรยากาศของสถานที่ ด้วยเหตุผลเหล่านี้จึงทำให้มีสิ่งต่าง ๆ มากมายที่ต้องคำนึงในการออกแบบแสงสว่าง เพื่อให้ได้แสงที่สมบูรณ์และเหมาะสมกับสถานที่มากที่สุด โดยสิ่งที่ควรจะต้องคำนึงหลัก ๆ จะมีอยู่ทั้งหมด 3 ข้อ ดังนี้

  • ความสวยงาม VS การประหยัดไฟ

    การออกแบบแสงสว่างมีจุดประสงค์หลัก ๆ คือการใช้งานที่เหมาะสม แต่เรื่องของความสวยงามและการประหยัดพลังงานก็นับว่าเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ผู้ออกแบบให้ความสำคัญ ซึ่งเราอาจจะเห็นได้ว่าการออกแบบแสงสว่างในแต่ละพื้นที่มีความสวยงามและบรรยากาศที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจเกิดจาการใช้กำลังไฟ และจำนวนแสงสว่างที่ไม่เท่ากัน

    หากใครต้องการความสวยงาม สามารถออกแบบโดยการเน้นใช้แสงไฟไปทั่วบริเวณ แต่อาจต้องยอมแลกกับค่าไฟที่เพิ่มสูงขึ้น แต่หากคุณต้องการเน้นเรื่องประหยัดพลังงานเป็นหลัก จำนวนแสงสว่างที่ใช้อาจต้องลดลง และต้องยอมสละในเรื่องของความสวยงามทิ้งไป
  • การเลือกแสงของหลอดไฟให้เหมาะกับสถานที่

    เพราะแสงจากหลอดไฟมีความเหมาะสมกับการใช้งานที่แตกต่างกัน ทั้งเรื่องสีที่ให้ อุณหภูมิแสง ตลอดจนความสามารถในการให้แสงสว่าง ดังนั้น คุณจะต้องรู้ว่าการออกแบบแสงสว่างในครั้งนี้ คุณคาดหวังกับอะไร ต้องการเน้นการใช้งานแบบไหน หรือต้องการความสวยงามอย่างไร เพื่อให้คุณสามารถเลือกหลอดไฟที่จะใช้กับสถานที่ได้อย่างเหมาะสม

  • รูปแบบของหลอดและโคมไฟ

    สิ่งที่มีความสำคัญอย่างมากในการออกแบบแสงสว่าง นั่นก็คือรูปแบบของหลอดและโคมไฟ ที่จะต้องคำนึงถึงอย่างรอบคอบ เนื่องจากมีผลกับภาพรวมหลังจากการติดตั้งแสงสว่าง อีกทั้งยังเกี่ยวข้องกับการใช้งานในระยะยาว ว่าจะทนทานมากน้อยแค่ไหน ดังนั้น จะต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วน ทั้งในเรื่องของคุณภาพ ราคา และคุณสมบัติในการใช้งาน เพื่อให้ตอบสนองการใช้งานได้ที่ทนทาน และง่ายต่อการบำรุงรักษา

หากใครกำลังมองหาบริการออกแบบแสงสว่าง (Lighting Design) สำหรับติดตั้งระบบแสงสว่างทั้งภายในและภายนอกอาคาร ที่บี.กริม เทรดดิ้ง เรามีทีมงานผู้เชี่ยวชาญคอยให้บริการโซลูชันออกแบบแสงสว่างมาตรฐานระดับโลก ที่สามารถตอบสนองกับทุกความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งอุปกรณ์ให้แสงสว่างคุณภาพสูงที่มีให้คุณเลือกสรรครบในที่เดียว สนใจติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทร. 02-7103000

เรื่องล่าสุด

เทียบความต่างหาแอร์ที่ใช่ แบบไหนเป็นแอร์ประหยัดไฟตรงใจคุณ

B.Grimm Trading|Carrier Air Conditioners|Inverter and Non-inverter

เทียบความต่างหาแอร์ที่ใช่ แบบไหนเป็นแอร์ประหยัดไฟตรงใจคุณ

B.Grimm Trading|Carrier Air Conditioners|Carrier

อากาศร้อน ๆ กับเมืองไทยถือว่าเป็นของคู่กัน เครื่องปรับอากาศจึงกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตไปโดยปริยาย แต่ถึงแม้จะเป็นปัจจัยสำคัญอย่างไร หากไม่เคยมีประสบการณ์ในการเลือกแอร์แบบประหยัดไฟมาติดตั้ง อาจทำให้ปวดหัวกับค่าไฟได้มากกว่าที่เคย สำหรับการเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศนั้น สิ่งที่เราจะต้องรู้ก็คือ เรื่องของความแตกต่างระหว่างระบบ Inverter กับ ระบบแอร์ทั่วไป เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าต่อการใช้งานมากที่สุด

เราขอมาบอกต่อถึงความแตกต่างของแอร์ทั้ง 2 ระบบ ให้มือใหม่ได้รู้กันว่าเสียหน่อย ว่าเป็นอย่างไร รวมถึงแอร์ประหยัดไฟประเภทไหน ที่เหมาะสำหรับนำไปติดตั้งในบ้านเพื่อการใช้งานที่เหมาะสมที่สุด

แอร์ Inverter คืออะไร

แอร์ระบบ Inverter อาจเป็นชื่อที่คุ้นหูหลาย ๆ คน แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าแอร์ระบบนี้คืออะไร? ขอเริ่มอธิบายไปที่เรื่องของระบบการทำงานมอเตอร์คอมเพรสเซอร์กันก่อน สำหรับแอร์ระบบ Inverter นั้น จะเริ่มจากการเร่งความเร็วและทำความเย็นได้ทันที โดยจะไม่หยุดการทำงานเมื่อความเย็นถึงอุณหภูมิที่กำหนด แต่จะเป็นการลดรอบการหมุนของมอเตอร์ จนอยู่ในสถานะเกือบหยุดแทน ในขณะเดียวกันถ้าอุณหภูมิในห้องเริ่มเพิ่มขึ้นเพียงแค่ 1 องศา ตัวมอเตอร์ก็จะเริ่มเพิ่มรอบทำงานแบบไม่กระชากไฟ ทำให้อุณหภูมิกลับมาเย็นแบบคงที่ได้อีกครั้ง

ด้วยระบบการทำงานที่สามารถใช้งานได้อย่างยาวนาน ต่อการเปิดเครื่องปรับอากาศหนึ่งครั้ง โดยไม่มีการตัดไฟ และเป็นระบบการทำงานในกระแสไฟฟ้าต่ำอยู่เรื่อย ๆ จึงทำให้แอร์ Inverter กลายเป็นแอร์ประหยัดไฟทางเลือกที่หลาย ๆ คนยอมรับ โดยทั่วไปจะนิยมใช้เป็นเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน ซึ่งเหมาะกับการใช้งานยาวนานหลายชั่วโมง อย่างในห้องทำงาน ออฟฟิศ หรือห้องนอน เป็นต้น

แอร์ Non-Inverter คืออะไร

แอร์ Non-Inverter หรือที่เรียกกันติดปากว่าแอร์ระบบทั่วไป ซึ่งจริง ๆ แล้วก็เป็นแอร์ที่ใช้กันมาอย่างยาวนาน ก่อนที่จะมีแอร์ระบบ Inverter เสียอีก ซึ่งความแตกต่างของแอร์ทั่วไปนั้น จะอยู่ที่การทำงานของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ ที่จะมีการหมุนรอบทำความเย็นได้มากกว่า และเกินจากอุณหภูมิที่กำหนดเอาไว้ประมาณ 2-4 องศาเซลเซียส ก่อนจะตัดการทำงานลง และจะเริ่มทำงานอีกครั้งเมื่ออุณหภูมิโดยรอบเพิ่มขึ้น

ซึ่งการสตาร์ททำงานใหม่ของคอมเพรสเซอร์ในทุกครั้ง ๆ จะมีข้อเสียอย่างเรื่องของการกินไฟมากกว่าระบบแอร์ Inverter แต่ก็ไม่ได้แปลว่าจะไม่มีข้อดี เนื่องจากการทำงานของแอร์ในระบบนี้ จะทำให้คุณสามารถควบคุมอุณหภูมิห้องให้เย็นฉ่ำได้อย่างใจ เหมาะสำหรับการใช้งานภายในห้องหรือสถานที่ที่อุณหภูมิไม่เที่ยงตรงอย่าง ห้องนั่งเล่น ห้องรับแขก หรือสถานที่ที่มีการเปิดประตูเข้า-ออกอย่างสม่ำเสมอ เช่น คาเฟ่ ร้านอาหาร เป็นต้น

 

ข้อดี-ข้อเสียของแอร์ทั้ง 2 ระบบ แบบไหนที่เหมาะกับคุณ

หลังจากได้รู้จักกับการทำงานที่แตกต่างกันของคอมเพรสเซอร์ของแอร์ทั้ง 2 ระบบกันไปแล้ว ต่อไปเราจะมาสรุปกันแบบแยกส่วน เพื่อให้เห็นถึงข้อดีและข้อเสียของแอร์ทั้งสองระบบ ว่ามีความแตกต่างและความเหมาะสมกับการใช้งานอย่างไรบ้าง

แอร์ Inverter

ข้อดีของแอร์ Inverter

  • มีความทนทาน สามารถใช้งานได้นานหลายปี
  • ระบบการทำงานเงียบ ลดเสียงรบกวน และไม่ค่อยมีการติดขัดระหว่างทำงาน
  • ควบคุมกระแสไฟได้ดี ช่วยประหยัดไฟได้มากกว่าแอร์ธรรมดา
  • อุณหภูมิคงที่ เย็นฉ่ำแบบสม่ำเสมอ
  • สามารถเปิดใช้งานได้ติดต่อกันยาวนาน 8-10 ชั่วโมง

ข้อเสียของแอร์ Inverter

  • มีราคาค่อนข้างสูงกว่าแอร์ทั่วไป เนื่องจากมีระบบการทำงานที่ซับซ้อนกว่า
  • หากเกินการชำรุด จะมีค่าใช้จ่ายด้านการซ่อมแซมที่สูงกว่าระบบแอร์ทั่วไป

แอร์ Non-Inverter

ข้อดีของแอร์ Non-Inverter

  • มีราคาถูก เนื่องจากมี BTU แอร์ขนาดเล็กให้
  • ระบบการทำงานภายในไม่ซับซ้อน ทำให้เสียค่าซ่อมแอร์ไม่แพง
  • เย็นฉ่ำกว่าแอร์ Inverter เหมาะสำหรับห้องที่จุคนได้ไม่เยอะ อย่างห้องนั่งเล่น เป็นต้น

ข้อเสียของแอร์ Non-Inverter

  • ระบบการทำงานกินไฟมากกว่า อาจมีการกระชากไฟเกิดขึ้นได้
  • ระบบจะตัดการทำงานทุกครั้งที่อุณหภูมิเย็นกว่ากำหนด
  • ระบบการทำงานค่อนข้างเสียงดัง รบกวนการใช้งานในห้องที่ต้องการความสงบ อย่างห้องทำงาน ออฟฟิศ ห้องอ่านหนังสือ เป็นต้น

3 ประเภทแอร์ Inverter ที่เหมาะกับบ้านของคุณ

ประเภทแอร์ประหยัดไฟในบ้าน

จะเห็นได้ว่าข้อดีของการทำงานจากระบบแอร์ Inverter นับว่าเป็นแอร์ประหยัดไฟที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานในที่พักอาศัย เพราะนอกจากจะช่วยประหยัดพลังงานโดยทำงานแบบไม่กินไฟแล้ว ยังมีระบบทำความเย็นที่เงียบสงบ ไม่ส่งเสียงรบกวนผู้พักอาศัย และยังสามารถควบคุมอุณหภูมิให้รู้สึกเย็นสบายแบบคงที่เป็นเวลานาน

ซึ่งแอร์ระบบนี้มีอยู่หลากหลายประเภท ที่ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองการใช้งานและการตกแต่งบ้านได้อย่างเหมาะสม และวันนี้เราได้หยิบ 3 ประเภทแอร์ Inverter ที่คัดแล้วว่าเหมาะสมกับการใช้งานในบ้านมาฝากกัน

แอร์ติดผนัง

แอร์ติดผนัง (Wall Type) เป็นแอร์ที่ทุกคนคุ้นเคยและพบเจอได้บ่อยมากที่สุดกับการใช้งานในที่พักอาศัย ด้วยราคาที่จับต้องได้ และมี BTU ขนาดเล็กให้เลือกใช้งาน ทั้งยังติดตั้งได้อย่างสะดวกสบาย ทำให้แอร์ประเภทนี้ได้รับความนิยมมากที่สุดกับการใช้งานภายในบ้าน นอกจากนี้ยังมีดีไซน์ที่สวยงามเหมาะสำหรับนำไปติดตั้งเพื่อตกแต่งบ้านอีกด้วย

แอร์ฝัง 4 ทิศ

 แม้จะไม่ได้พบเจอบ่อย ๆ สำหรับนำไปติดตั้งภายในบ้าน แต่ในปัจจุบันทั้งคอนโด หรือเพ้นท์เฮาส์หลายแห่งก็เลือกติดตั้งแอร์ฝังแบบ 4 ทิศ เพราะนอกจากจะให้ความเรียบหรู ดูสวยงามจากการฝังแอร์ไว้ใต้ฝ้าแล้ว ยังสามารถช่วยกระจายลมได้อย่างเหมาะสม รวมถึงมีระบบเป่าสวิงลมให้ออกมาได้ถึง 4 ทิศทาง สำหรับห้องไหนที่มีพื้นที่กว้าง การเลือกติดตั้งแอร์ฝัง 4 ทิศก็ถือได้ว่าเป็นตัวเลือกที่ฉลาดไม่น้อยเลยทีเดียว

แอร์เปลือย

แอร์เปลือยหรือแอร์ไร้โครง เป็นแอร์ที่ไม่มีกล่องครอบเหมือนแอร์ประเภทอื่น ๆ โดยจะนิยมนำไปฝังกับฝ้าเพื่อความหรูหรา ปกติเรามักจะพบแอร์ประเภทนี้ติดตั้งในโรงแรมมากกว่าที่พักอาศัย แต่ในปัจจุบันมีคนนำมาประยุกต์ใช้กันจำนวนไม่น้อย เพราะมีรูปแบบที่เหมาะกับการแต่งบ้าน ทั้งในแบบลอฟท์ ปูนเปลือยที่เข้ากันได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม แอร์ประเภทนี้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่อาจต้องจ่ายในราคาแพง ทำให้ต้องคิดและวางแผนให้ดีก่อนเลือกติดตั้ง

หากใครที่กำลังมองหาแอร์คุณภาพดีสำหรับใช้ในที่พักอาศัย พร้อมบริการทั้งก่อนและหลังการขายแบบครบวงจร ที่บี.กริม เทรดดิ้ง เราเป็นตัวแทนจำหน่ายแอร์แคร์เรีย (Carrier) และโตชิบา (Toshiba) อย่างเป็นทางการ และให้บริการจากทีมงานมืออาชีพที่จะคอยให้คำปรึกษาด้านการออกแบบและการปรับปรุงให้เหมาะสมกับการใช้งาน 

สอบถามข้อมูลสินค้าเพิ่มเติมได้ที่

https://bgrimmtrading.com/contact-us/
อีเมล: [email protected]
เบอร์โทรศัพท์ : +66 (0) 2710 3000
Line Official Account : https://lin.ee/ItAW7DS @bgrimmtrading

เรื่องล่าสุด