ทำความรู้จักกับ Chiller ระบบปรับอากาศขนาดใหญ่

chiller

ทำความรู้จักกับ Chiller ระบบปรับอากาศขนาดใหญ่

Chiller Air carrier

ชิลเลอร์ (Chiller) เป็นระบบปรับอากาศขนาดใหญ่ ทำหน้าที่ผลิตน้ำเย็นหรือปรับลดอุณหภูมิน้ำเพื่อจ่ายไปยังเครื่องปรับอากาศต่างๆ ในอาคาร ส่วนมากใช้ในอาคารขนาดใหญ่ ห้างสรรพสินค้าหรือโรงงานที่ต้องอาศัยความเย็นในการควบคุมคุณภาพการผลิตสินค้า หรือใช้เป็นส่วนประกอบในการทำงานของเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นรวมถึงยังประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่าย

ชิลเลอร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. แบบระบายความร้อนด้วยน้ำ (Water Cooled Chiller) เป็นระบบขนาดใหญ่ มีประสิทธิภาพในการทำความเย็นสูงแต่ก็มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าระบบระบายด้วยอากาศเช่นกัน ในกรณีที่โครงการมีขนาดใหญ่ และมีความต้องการความเย็นมากมักจะนิยมใช้เครื่องทํานํ้า เย็นชนิดนี้ เพราะจะมีเครื่องทํานํ้าเย็นที่มีประสิทธิภาพสูงให้เลือกใช้ (0.62 – 0.75 กิโลวัตต์/ตัน) ทําให้ได้ระบบปรับอากาศที่กินไฟน้อยกว่าเครื่องแบบอื่นๆ มีอุปกรณ์หลักคือ คอมเพรสเซอร์ (Compressor) แผงระบายความร้อน (Condenser) และแผงคอยล์เย็น (Evaporator) หลักการทำงานโดยคร่าวๆ คือการใช้คอมเพรสเซอร์อัดสารทำความเย็นซึ่งอยู่ในรูปแบบของก๊าซเย็นความดันต่ำ จนกลายเป็นไอร้อนก่อนที่สารทำความเย็นนี้จะถ่ายเทความร้อนออกผ่านแผงระบายความร้อน เพื่อแปรสภาพเป็นของเหลว และลดความดันด้วยอุปกรณ์ลดแรงดัน ก่อนนำความเย็นที่ได้ไปใช้งาน การระบายความร้อนออกจากระบบจะใช้น้ำเป็นตัวกลางในการดึงความร้อนออกจากสารทำความเย็น ผ่านทางแผงระบายความร้อน จึงจำเป็นต้องมีหอหล่อเย็น (Cooling tower) เพื่อลดอุณหภูมิน้ำเพื่อนำกลับไปใช้ใหม่ในระบบ
  2. แบบระบายความร้อนด้วยอากาศ (Air Cooled Chiller) เป็นระบบที่เล็กกว่าระบบแรกโดยมีความแตกต่างกันที่การระบายความร้อน ซึ่งระบบนี้จะไม่มีวงจรของน้ำระบายความร้อนเพราะจะใช้อากาศในการระบายความร้อน ดังนั้นอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้ามากที่สุดคือ เครื่องทำน้ำเย็นและมีอุปกรณ์ประกอบคือ ปั๊มน้ำเย็นและอุปกรณ์ส่งจ่ายลมเย็น เท่านั้น การระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็นจะใช้อากาศดูดหรือเป่าไปยังขดท่อความร้อน ซึ่งพัดลมอาจมีจำนวนหลายชุดใน Chiller แต่ละชุด ดังนั้นเครื่องทำน้ำเย็นระบบนี้จะมีประสิทธิภาพต่ำกว่าแบบระบายความร้อนด้วยน้ำเพราะน้ำจะมีความสามารถในการระบายความร้อนสูงกว่า อีกทั้งเมื่อพัดลมชำรุดจะเกิดการลัดวงจรของลมทำให้ประสิทธิภาพลดลงด้วย

ทำไมถึงควรใช้ Chiller

  • ทำความเย็นได้รวดเร็ว ทั่วถึง
    เนื่องจากชิลเลอร์เป็นระบบทำความเย็นแบบรวมศูนย์ที่มีขนาดใหญ่ จึงสามารถผลิตความเย็นได้อย่างรวดเร็ว และสามารถกระจายไปยังจุดต่างๆ ได้พร้อมๆ กันอย่างทั่วถึง
  • ประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่าย
    ชิลเลอร์ เป็นระบบปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง ช่วยประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่ายสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องใช้งบประมาณส่วนใหญ่กับเครื่องปรับอากาศเพื่อรักษามาตรฐานการผลิต ซึ่งในรุ่นใหม่ๆ จะมีนวัตกรรมที่ประหยัดพลังงานมากกว่ารุ่นเก่า
  • เป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อม
    ชิลเลอร์ไม่ได้ใช้สาร CFC ซึ่งเป็นสารทำความเย็นที่ทำลายชั้นบรรยากาศของโลก จึงจัดเป็นระบบปรับอากาศที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ข้อจำกัด

  • ใช้พื้นที่ในการติดตั้งมาก
    เนื่องจากเป็นระบบขนาดใหญ่ จึงต้องใช้พื้นที่ในการติดตั้งมาก บางครั้งอาจต้องติดตั้งภายนอกอาคารทำให้อายุการใช้สั้นลงเนื่องจากต้องทนทานกับสภาพอากาศ
  • การติดตั้งมีความยุ่งยาก
    การติดตั้งมีความยุ่งยากซับซ้อน ต้องจัดเตรียมโครงสร้างสำหรับติดตั้งเครื่อง และจัดตำแหน่งจัดวางที่แน่นอน เนื่องจากระบบมีขนาดใหญ่ การเคลื่อนย้ายตำแหน่งในภายหลังเป็นไปได้ยาก
  • ค่าใช้จ่ายสูง
    ตัวระบบมีราคาแพง รวมถึงการติดตั้งและการดูแลซ่อมบำรุงมีค่าใช้จ่ายที่สูง


ตอนนี้เราก็ได้รู้จัก Chiller แล้วว่ากี่ประเภทและทำงานอย่างไร สำหรับใครที่กำลังมองหาระบบปรับอากาศสำหรับใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม หรือใช้ในเชิงพาณิชย์ที่ต้องเปิดแอร์เป็นเวลานานในสถานที่ขนาดใหญ่ ลองให้ Carrier Chiller เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คุณสามารถเลือกซื้อได้ เราจำหน่ายทั้งระบบ Water Cooled Chiller และ Air Cooled Chiller รับประกันมาตรฐานคุณภาพสินค้าระดับสูงสุดและบริการหลังการขาย

สอบถามข้อมูลสินค้าเพิ่มเติมได้ที่
https://bgrimmtrading.com/contact-us/
อีเมล: [email protected]
เบอร์โทรศัพท์ : +66 (0) 2710 3242
Line :  https://lin.ee/ItAW7DS  @bgrimmtrading

เรื่องล่าสุด

ประโยชน์จากหลอดไฟ UV-C

UVC

ประโยชน์จากหลอดไฟ UV-C

หลอดไฟ UV-C

เราคงคุ้นหูกันดีกับรังสี UV-A และ UV-B ในแสงแดด ที่ถึงแม้จะมีประโยชน์ในการช่วยกระตุ้นการผลิตวิตามินดีและสามารถนำมารักษาโรคผิวหนังบางชนิดได้ แต่หากได้รับในปริมาณมากและเป็นระยะเวลานานก็จะเป็นอันตรายต่อผิวหนัง สร้างความเสียหายต่อดีเอ็นเอ และก่อให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้

แล้วรังสี UV-C พบได้ที่ไหน

จริงๆ แล้ว รังสียูวีในแสงแดดถูกแบ่งออกเป็น 3 โซนด้วยกัน แต่แสงแดดที่มาถึงพื้นโลกจะมีคลื่นแสงยาวกว่า 290 nm ในขณะที่ UV-C มีช่วงความยาวคลื่นที่ 100 – 280 nm จึงมักมาไม่ถึงผิวโลก ยกเว้นในบริเวณยอดเขาสูง รังสี UV-C เป็นรังสีที่อันตรายต่อมนุษย์ในระดับรุนแรง ทำให้ผิวหนังไหม้เกรียม เยื่อบุตาอักเสบ หรือตาบอดได้ ด้วยความรุนแรงดังกล่าว UVC จึงจัดเป็นรังสีที่ประสิทธิภาพสูงในการฆ่าเชื้อโรค และการนำมาใช้งานจึงเกิดขึ้นจากการสังเคราะห์ขึ้นเองผ่านระบบ “UVGI” (Ultraviolet Germicidal Irradiation) หรือ ระบบการใช้แสงยูวีที่มีความเข้มข้นสูงพิเศษ (Germicidal Range)

advantages of UVC

ประโยชน์ของ UV-C
UV-C มีพลังงานสูง ความยาวคลื่นยาวกว่ารังสี X-Ray สามารถส่องทะลุผ่านผิววัตถุรวมถึงดีเอ็นเอของเชื้อโรค จึงมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา ยีสต์ ที่อยู่บนพื้นผิววัตถุและในอากาศในเวลาเพียงไม่กี่วินาที

หลอดไฟ UV-C
ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด19 ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากการใช้เครื่องฟอกอากาศแล้วยังมีการนำรังสี UV-C มาใช้ร่วมเพื่อปรับคุณภาพอากาศ และเพื่อฆ่าเชื้อโรคไม่ว่าจะเป็นในสถานพยาบาล ห้องวิจัย อาคาร ร้านค้าต่างๆ หรือแม้แต่ในบ้านพักอาศัย และยิ่งในปัจจุบันมีการพัฒนาประยุกต์ใช้ ในรูปแบบของหลอดไฟและโคมไฟแสง UV-C ที่สามารถนำไปใช้ได้หลากหลายลักษณะ เช่น

  1. เพื่อฆ่าเชื้อโรคในอากาศ (Air Disinfection) โดยการติดตั้งบนผนังหรือเพดาน
  2. เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่พื้นผิวของวัตถุ (Surface Disinfection) เช่นในรูปแบบของรถเข็นโดยส่องไปยังบริเวณพื้นห้อง เฟอร์นิเจอร์ ราวจับ ภาชนะบรรจุ หรืออุปกรณ์ต่างๆ
  3. เพื่อฆ่าเชื้อโรคในของเหลว (Liquid Disinfection) เช่นการฆ่าเชื้อในน้ำ เครื่องกรองน้ำ ตู้ปลา หรือสระว่ายน้ำ รวมถึงในอาหารสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร

การใช้งาน

  • ต้องถูกเชื้อโรคโดยตรง ในระยะเวลาที่เพียงพอ
    ประสิทธิภาพในการยับยั้งและทำลายเชื้อโรคของ UV-C ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ระยะเวลาที่ใช้ในการฆ่าเชื้อ ระยะห่าง ประเภทของพื้นผิวหรือวัตถุ รวมถึงชนิดของเชื้อโรค เนื่องจากเชื้อโรคบางชนิดสามารถทนต่อรังสีได้นาน
  • ควรใช้ในที่อากาศแห้ง
    รังสี UV-C จะมีประสิทธิภาพดีที่สุดเมื่อใช้ระดับความเข้มข้นน้อยในสถานที่ที่มีสภาพอากาศแห้ง หากใช้ในอากาศชื้นมากๆ จะต้องเพิ่มความเข้มของรังสีเป็นสองเท่า
  • ความเข้มแสงลดลงตามระยะห่าง
    ความเข้มของรังสีจะลดลงตามระยะห่างจากหลอดไฟ ประสิทธิภาพของแสงจึงอาจไม่เพียงพอในห้องที่มีปริมาตรขนาดใหญ่หรือมีฝ้าเพดานสูง อาจต้องเพิ่มจำนวนหลอด

ข้อพึงระวัง

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรง
    ในขณะที่ UV-C มีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อโรคหลากหลายชนิด แต่ก็เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ สามารถทำร้ายผิวหนังและเยื่อบุตาของคนและสัตว์ส่งผลให้ตาบอดได้ การใช้งานต้องปฏิบัติด้วยความระมัดระวังอย่างเคร่งครัด
  • ใช้ในพื้นที่ปิด ขณะเปิดใช้งานต้องไม่มีคนอยู่
    ต้องมั่นใจว่าขณะเปิดใช้งานไม่มีคนอยู่ในบริเวณนั้นๆ ควรมีไฟหรือสัญญาณแสดงเพื่อแจ้งเตือนว่าขณะนี้มีการเปิดใช้งานหลอด UV-C และควรมีระบบรีโมตในการเปิดปิดระยะไกล หรือใช้วิธีการเปิดปิดไฟได้สองทาง หรือมีเซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวซึ่งจะปิดไฟอัตโนมัติเมื่อมีคนเข้ามาใกล้
  • ผลิตภัณฑ์ต้องได้มาตรฐาน
    ควรเลือกใช้หลอดไฟที่มีมาตรฐานควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยในการใช้งานในระดับสากลโดยองค์กรต่างๆ โดยเฉพาะในสถานพยาบาลที่ต้องมีมาตรฐานสำหรับใช้ในการโรงพยาบาลโดยเฉพาะเพื่อควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อโรค

บี. กริม เทรดดิ้ง เป็นตัวแทนจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของ Philips สินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ได้มาตรฐานความปลอดภัยในระดับสากล และมีการรับประกันสินค้า

หลอดไฟ UV-C ของ Philips มาพร้อมระบบ Dynalite UV-C Control ที่ควบคุมปริมาณรังสีในปริมาณที่เหมาะสม และป้องกันการสัมผัสที่เป็นอันตราย มีระบบตั้งเวลาและสัญญาณแจ้งเตือนว่าระบบกำลังทำงาน มีเซนเซอร์จับความเคลื่อนไหวเพื่อหยุดทำงานทันทีหากพบว่าสถานที่มีการใช้งานอยู่หรือหากประตูเปิดเพื่อป้องกันอันตรายจากรังสี UV-C สัมผัสถูกคนหรือสัตว์

สอบถามข้อมูลสินค้าเพิ่มเติมได้ที่
https://bgrimmtrading.com/contact-us/
อีเมล: [email protected]
เบอร์โทรศัพท์ : +66 (0) 2710 3232
Line :  https://lin.ee/ItAW7DS  @bgrimmtrading

เรื่องล่าสุด