ระบบปรับอากาศในอาคาร (Chiller) และการบำรุงรักษา

B.Grimm Trading|Carrier Air Conditioners|Chiller

ระบบปรับอากาศในอาคาร (Chiller) และการบำรุงรักษา

B.Grimm Trading|Carrier Air Conditioners|Chiller

ชิลเลอร์ (Chiller) หรือ ระบบปรับอากาศในอาคาร ที่มักใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือห้างสรรพสินค้า เป็นระบบทำความเย็นแบบรวมศูนย์ที่มีขนาดใหญ่ ทำหน้าที่ผลิตน้ำเย็นหรือปรับลดอุณหภูมิน้ำเพื่อจ่ายไปยังเครื่องปรับอากาศต่าง ๆ ในอาคาร ชิลเลอร์เป็นระบบปรับอากาศมีประสิทธิภาพสูง ผลิตความเย็นได้อย่างรวดเร็วและสามารถกระจายไปยังจุดต่าง ๆ ได้พร้อมกันอย่างทั่วถึง จึงนิยมใช้เป็นระบบทำความเย็นในโรงงานหรือระบบปรับอากาศในงานอุตสาหกรรม ที่ต้องการความเย็นในการควบคุมคุณภาพการผลิตสินค้า หรือใช้เป็นส่วนประกอบในการทำงานของเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นรวมถึงยังประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่าย

ชิลเลอร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ แบบระบายความร้อนด้วยอากาศ (Air Cooled Chiller) และแบบระบายความร้อนด้วยน้ำ (Water Cooled Chiller) ทั้ง 2 ระบบจะมีวงจรการทำงานและอุปกรณ์พื้นฐานใกล้เคียงกัน คือ คอมเพรสเซอร์ (Compressor) แผงระบายความร้อน (Condenser) แผงคอยล์เย็น (Evaporator) ต่างกันที่ Air Cooled Chiller จะใช้อากาศในการระบายความร้อนจึงมีแผงระบายความร้อนขนาดใหญ่และพัดลม ในขณะที่ Water Cooled Chiller จะใช้หอหล่อเย็นหรือหอระบายความร้อน (Cooling tower) เพื่อลดอุณหภูมิน้ำเพื่อนำกลับไปใช้ใหม่ในระบบ

การบำรุงรักษาระบบปรับอากาศในอาคาร (Chiller)

 เพื่อคงประสิทธิภาพในการทำงานและเพื่อความปลอดภัยของระบบปรับอากาศในอาคาร ควรมีการตรวจเช็คและบำรุงรักษาอุปกรณ์อย่างเป็นประจำ เพื่อให้แน่ใจได้ว่าระบบและองค์ประกอบแต่ละส่วนพร้อมใช้งานอยู่เสมอ เป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา และเพิ่มอายุการใช้งานของระบบ

เครื่องอัดน้ำยา (Compressor)

เป็นอุปกรณ์สำคัญที่สุดของ Chiller หรือระบบปรับอากาศในอาคาร ทำหน้าที่อัดสารทำความเย็นซึ่งอยู่ในรูปแบบของก๊าซเย็นความดันต่ำ

  • ต้องมีฝาครอบเพื่อป้องกันอันตรายโดยมีน็อตยึดอย่างมั่นคง ไม่มีการชำรุดหรือผุกร่อน
  • ไม่มีคราบน้ำมัน จาระบี หรือเศษสิ่งปฏิกูล
  • ในขณะที่เครื่องทำงานจะต้องไม่มีเสียงดังหรือสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง
  • วาล์วรักษาความดันต้องอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี มีสวิตช์ตัดอัตโนมัติเมื่อเกิดความดันน้ำมันต่ำหรือสูงเกินไป
  • ขณะวัดความดันหากสารทำความเย็นมีปริมาณลดลง อาจมีการรั่ว ควรรีบหาจุดรั่วและซ่อมแซมทันที

เครื่องควบแน่น (Condenser)

  • มีการติดตั้งลิ้นนิรภัย (Safety Valve) ทั้งด้านขาเข้าและขาออกที่อยู่ในสภาพใช้ดี ไม่มีการชำรุด โดยสามารถทำงานได้เมื่อมีความดันเกิน 120% ของความดันสูงสุดของอุปกรณ์
  • มีฝาครอบที่พัดลมส่งกำลังและอยู่ในสภาพการใช้งานที่ดี
  • ไม่มีร่องรอยคราบเปื้อนที่บริเวณจุดต่อและท่อน้ำยาทำความเย็น หรือมีกลิ่นฉุนของแอมโมเนีย หากพบว่ามีการรั่วต้องรีบทำการตรวจสอบและแก้ไขซ่อมแซม
  • ไม่มีรอยแตกรั่ว อุดตัน หรือเสื่อมสภาพ เนื่องจากจะไม่สามารถระบายความร้อนได้

แผงคอยล์เย็น (Evaporator)

  • มีการติดตั้งลิ้นนิรภัย (Safety Valve) ทั้งด้านขาเข้าและขาออกที่อยู่ในสภาพใช้ดี
  • ตรวจสอบรอยรั่วไหล ต้องไม่มีคราบน้ำมัน หรือกลิ่นฉุนของแอมโมเนีย
  • ฝาครอบชุดพัดลมเป่าอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีและไม่สั่นสะเทือน
  • สภาพถังพักและท่อน้ำยาทั้งทางด้านส่งและด้านดูด ไม่มีการผุกร่อนหรือเป็นสนิม

หอหล่อเย็นหรือหอระบายความร้อน (Cooling Tower)

  • ตรวจสอบเกจวัดแรงดัน (Pressure) ของมอเตอร์ปั๊มอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเช็คความถูกต้องของระดับแรงดัน หากมอเตอร์ตัวใดชำรุดต้องรีบแก้ไขโดยด่วนเพราะอาจเกิดความร้อนสะสมเนื่องจากไม่มีน้ำขึ้นไปที่คูลลิ่งทาวเวอร์เพื่อระบายความร้อน
  • คุณภาพของน้ำที่จะนำมาใช้เพื่อผลิตน้ำเย็นนั้นมีความสำคัญอย่างมาก ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบคุณภาพของน้ำในระบบอย่างสม่ำเสมอ หากน้ำสกปรกความสามารถในการถ่ายเทความร้อนจะลดลง แนะนำให้ทิ้งน้ำเย็นที่หมุนเวียนอย่างน้อยปีละครั้ง และควรใส่สารกันสนิมเมื่อเติมน้ำใหม่
  • ตรวจสอบคราบตะกรัน สนิม อาจใช้น้ำยาเคมีเพื่อป้องกันและปรับคุณภาพน้ำ

หากคุณมีข้อสงสัยหรือต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้งาน Chiller บี.กริม เทรดดิ้ง เรามีทีมงานผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษา เราเป็นตัวแทนจำหน่ายแอร์แคเรียร์อย่างเป็นทางการ เราจำหน่ายและพร้อทให้บริการทั้งระบบ Water Cooled Chiller และ Air Cooled Chiller คุณภาพสูง คุณจึงมั่นใจได้ถึงความปลอดภัย ทนทาน ประหยัดพลังงาน รวมถึงบริการทั้งก่อนและหลังการขายอย่างครบวงจรโดยพนักงานมืออาชีพ ติดต่อเราได้เลย ที่นี่

สอบถามข้อมูลสินค้าเพิ่มเติมได้ที่
https://bgrimmtrading.com/contact-us/
อีเมล: [email protected]
เบอร์โทรศัพท์ : +66 (0) 2710 3000
Line Official Account :  https://lin.ee/ItAW7DS  @bgrimmtrading

เรื่องล่าสุด

ไฟตก ไฟกระชากคืออะไร ป้องกันได้อย่างไร

power surge Bgrimm trading

ไฟตก ไฟกระชากคืออะไร ป้องกันได้อย่างไร

power surge Bgrimm trading

เมื่อพูดถึงหนึ่งในปัญหาที่พบได้บ่อย ๆ จากการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยเฉพาะเวลาฝนตก ฟ้าร้องฟ้าผ่า  ก็คือเรื่องของ ไฟตก ไฟกระชาก ซึ่งสัญญาณบ่งชี้ก็คือ การที่เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านคุณเริ่มมีอาการติด ๆ ดับ ๆ แอร์ไม่เย็นหรือบางครั้งก็ตัดไปเอง หรือการที่หลอดไฟไม่ติดหรือกระพริบอยู่บ่อย ๆ ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถป้องกันได้ด้วย อุปกรณ์ป้องกันไฟกระชาก (Surge Arrester) ซึ่งมีทั้งแบบที่เสียบเข้ากับเต้ารับไฟฟ้าที่ผนังหรือรางปลั๊กพ่วง หรือติดตั้งในสวิทช์บอร์ด (ตู้ MDB) หรือตู้คอนซูมเมอร์

ไฟตก ไฟกระชาก คืออะไร

อาการไฟตก เกิดขึ้นเมื่อมีแรงดันไฟฟ้าต่ำกว่า 220V ในช่วงเวลาหนึ่งอย่างรวดเร็ว ทำให้มีแรงดันไฟฟ้าไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ส่งผลให้เครื่องใช้ไฟฟ้าหยุดทำงานในระยะเวลาสั้น ๆ หรือไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เช่น หลอดไฟอาจมีการกระพริบหรือลดความสว่างลง หรือพัดลมที่หมุนช้าลง 

อาการไฟกระชาก เกิดขึ้นเมื่อมีแรงดันไฟฟ้านั้นขาด ๆ เกิน ๆ จาก 220V ในช่วงเวลาหนึ่งอย่างรวดเร็ว ซึ่งแรงดันไฟฟ้าที่ไม่เสถียรและกระแสไฟฟ้าที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วนี้อาจสร้างความเสียหายต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กำลังทำงานอยู่ โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของแรงดันเกินหรือมีความคงทนต่ำ ซึ่งหากไม่มีการป้องกันหรือแก้ไข อาจส่งผลให้วงจรไฟฟ้ามีปัญหารุนแรงและนำไปสู่สาเหตุของเพลิงไหม้ได้

โดยสาเหตุของการเกิดไฟตกและไฟกระชากอาจเกิดได้จากหลายปัจจัยคล้ายกัน เช่น ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติอย่างฟ้าผ่า หรือการวางระบบไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน สายไฟชำรุดทำให้เสียแรงดันไฟฟ้า สัญญาณรบกวนทางไฟฟ้า หรือการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีอัตราการกินไฟในปริมาณมากพร้อมกัน เป็นต้น

อุปกรณ์ป้องกันไฟกระชาก (Surge Arrester)

อุปกรณ์ป้องกันไฟกระชาก (Surge Arrester หรือ Surge Protector) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยลดแรงดันไฟฟ้า สำหรับช่วยป้องกันความเสียหายจากการที่แรงดันไฟฟ้าสูงขึ้นในชั่วขณะ หรือในช่วงที่เกิดไฟกระชากนั่นเอง เราจึงมักเห็นว่าปลั๊กไฟรุ่นใหม่ ๆ จะมีอุปกรณ์ป้องกันไฟกระชาก (Surge Arrester) ติดตั้งเสริมมาด้วย และเพื่อการทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพควรมีการต่อสายดินเพื่อให้กระแสไฟฟ้าวิ่งลงสู่ดินแทนเครื่องใช้ไฟฟ้า ทั้งนี้ความสามารถในการต้านทานแรงดันไฟฟ้าก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพและรุ่นของอุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากนั้น ๆ

5SD Surge arrester Siemens
อุปกรณ์ป้องกันไฟกระชาก (Surge Arrester) 5SD Series | 1 Pole 3 Pole และ 4 Pole

อุปกรณ์ป้องกันไฟกระชาก (Surge Arrester) ทำงานอย่างไร

Surge Arrester หรือ Surge Protector จะปรับค่าความต้านทานให้เหมาะสมกับแรงดันไฟฟ้าที่เข้ามา กล่าวคือเมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟกระชาก Surge Arrester จะทำหน้าที่ต้านทานเอาไว้ในช่วงเวลาสั้น ๆ แต่หากแรงดันไฟฟ้าเข้ามาเยอะเกินกว่าที่อุปกรณ์จะรับไว้ได้ ก็จะทำการเหนี่ยวนำกระแสไฟที่เกินมานี้ให้เปลี่ยนทิศทางออกจากอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยสร้างแนวที่มีความต้านทานต่ำเพื่อให้กระแสไฟฟ้าไหลไปตามแนวนั้นและลงสู่สายดิน แทนที่จะวิ่งเข้าไปทำลายอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า เหมาะสำหรับอาคารอุตสาหกรรม สำนักงาน ตึกอาคาร และที่อยู่อาศัยทั่วไป สามารถติดตั้งร่วมกับเบรกเกอร์ และอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วไฟดูด โดย Surge Arrester มี 2 ชนิดหลัก ๆ คือ

  1. ชนิด Filter ที่มีลักษณะเป็นตัวกีดขวาง คอยสกัดกั้นพลังงานไฟฟ้าที่มีความถี่สูงในขณะเดียวกันก็จะปล่อยให้พลังงานไฟฟ้าที่มีความถี่ต่ำไหลผ่านได้โดยสะดวก
  2. ชนิด Transients Diverters ที่มีการสร้างแนวซึ่งมีความต้านทานต่ำสำหรับให้แรงดันไฟฟ้าที่สูงขึ้นชั่วขณะไหลไปตามแนวลงสู่สายดิน

Siemens Surge Arrester 5SD Series

ใครที่กำลังมองหาอุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากอยู่ ซีเมนส์ รุ่น 5SD Series มีระบบ Thermal isolating arrester disconnector ทำให้มีระดับการป้องกันที่สูง สามารถป้องกันไฟกระชากได้สูงถึง 1.5 kV แรงดันการใช้งานสูงสุด 350V โดยจะถ่ายเทกระแสไฟฟ้าเกินลงสู่ดิน ติดตั้งบนรางมาตรฐาน (Din rail) พร้อมด้วยระบบติดตั้งกันลื่น (anti-slip terminals) สามารถติดตั้งร่วมกับเบรกเกอร์ และอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วไฟดูดได้ มีให้เลือกทั้งชนิดสำหรับที่อยู่อาศัยทั่วไป (1 Pole) ที่ต้องการความปลอดภัยเพิ่มขึ้น ไปจนถึงโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงานขนาดใหญ่ต่าง ๆ (4 Pole)

บี.กริม เทรดดิ้ง เรามีทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่คอยให้คำปรึกษา เราเป็นตัวแทนจำหน่าย อุปกรณ์ไฟฟ้าจากซีเมนส์อย่างเป็นทางการ มั่นใจได้ถึงความปลอดภัย ทนทาน ประหยัดพลังงาน รวมถึงบริการทั้งก่อนและหลังการขายอย่างครบวงจรโดยพนักงานมืออาชีพ ติดต่อเราได้เลย ที่นี่

สอบถามข้อมูลสินค้าเพิ่มเติมได้ที่
https://bgrimmtrading.com/contact-us/
อีเมล: [email protected]
เบอร์โทรศัพท์ : +66 (0) 2710 3000
Line Official Account :  https://lin.ee/ItAW7DS  @bgrimmtrading

เรื่องล่าสุด

Air Handling Unit (AHU) คืออะไร

B.Grimm Trading|Carrier Air Conditioners|AHU

Air Handling Unit (AHU) คืออะไร

B.Grimm Trading|Carrier Air Conditioners|AHU

Air Handling Unit (AHU) คืออะไร? Air Handling Unit หรือ AHU เป็นเครื่องจ่ายหรือส่งลมเย็นขนาดใหญ่ ใช้ในการปรับและหมุนเวียนอากาศ เป็นส่วนหนึ่งของระบบปรับอากาศ HVAC (Heating Ventilation and Air Conditioning) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น ความสะอาดของอากาศ และการกระจายอากาศ

Air Handling Unit ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นกล่องโลหะขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยพัดลม (Blower) คอยล์เย็น ฟิลเตอร์ ท่อลดเสียง และแดมเปอร์หรือบานปรับเป็นหลัก AHU จะต้องติดตั้งระบบท่อลมที่จะส่งอากาศที่ปรับแล้วกระจายไปตามจุดต่าง ๆ ของอาคาร มักใช้ตามห้องโถงขนาดใหญ่ เช่นล็อบบี้โรงแรม อาคารสำนักงาน โรงงาน ห้างสรรพสินค้า

Air Handling Unit (AHU) ทำงานอย่างไร

Air Handling Unit หรือเครื่องส่งลมเย็นจัดเป็นอุปกรณ์ปลายทางของระบบน้ำเย็น (Chiller) ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนความร้อนระหว่างน้ำเย็นจากเครื่องทำน้ำเย็นกับอากาศที่มีความร้อน เพื่อส่งอากาศที่มีอุณหภูมิต่ำลงและมีความชื้นที่เหมาะสมภายในอาคาร หลักการทำงานของ Air Handling Unit (AHU) คือนำอากาศอุณหภูมิปกติมาทำให้เย็นโดยคอยล์เย็น (Cooling Coil) (หรือทำให้ร้อนโดยคอยล์ร้อน (Heating Coil) ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของอากาศที่ต้องการในแต่ละภูมิประเทศ) และส่งอากาศไปยังห้องต่าง ๆ ผ่านท่อลม (Air Duct) เพื่อปรับอุณหภูมิห้อง

นอกจากนี้ สามารถนำอากาศที่ระบายทิ้ง (Exhaust Air) และอากาศใหม่จากภายนอก (Outside Air) หรือบางคนเรียกว่าอากาศบริสุทธิ์ (Fresh Air) มาแลกเปลี่ยนความร้อนผ่านห้องผสม (Mixing Chamber) เพื่อลดอุณหภูมิของอากาศจากภายนอกก่อนเข้ามาในระบบ เช่นอากาศระบายทิ้งมีอุณหภูมิ 28 องศา ผสมกับอากาศภายนอก 35 องศา อาจทำให้ได้อากาศที่อุณหภูมิ 31 องศา เป็นการช่วยลดภาระคอยล์เย็นและประหยัดพลังงานและค่าไฟลงได้มาก ในห้องผสมจะมีบานปรับ (Damper) สำหรับควบคุมอัตราส่วนระหว่างอากาศที่หมุนเวียนกลับมาใช้

Air Handling Unit (AHU) มีกี่แบบ

Air Handling Unit (AHU) คือเครื่องส่งลมเย็นขนาดใหญ่ ซึ่งถ้าเป็นเครื่องขนาดเล็กจะเรียกว่า Fan Coil Unit (FCU) ซึ่งทำหน้าที่เหมือนกับ AHU คือปรับอากาศในพื้นที่ที่ต้องการ ข้อแตกต่างคือขนาดและตำแหน่งการติดตั้ง ขนาดเครื่อง Air Handling Unit (AHU) สามารถทำความเย็นได้มากกว่า 5 ตัน ขึ้นไป สำหรับส่งลมเย็นไปยังพื้นที่กว้าง ระบบการทำงานจะมีความซับซ้อนมากกว่าเนื่องจากมีอุปกรณ์หลายอย่างและมีระบบท่อลมเข้ามาเกี่ยวข้อง AHU จะติดตั้งอยู่ในห้องเครื่องและอาจจะห่างจากพื้นที่ปรับอากาศเพื่อไม่ให้มีเสียงรบกวน ในขณะที่ Fan Coil Unit จะมีขนาดเล็ก มีขนาดการทำความเย็น ไม่เกิน 5 ตัน ไม่ซับซ้อนติดตั้งได้ง่ายกว่า ควบคุมความเย็นเฉพาะจุด ใช้คู่กับ Chiller มีพัดลมเป่าลมเย็นสำหรับปรับอากาศในห้องที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก เช่นร้านค้าในห้างสรรพสินค้า

หากคุณมีข้อสงสัยหรือต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกซื้อ Air Handling Unit บี.กริม เทรดดิ้ง เรามีทีมงานมืออาชีพที่คอยให้คำปรึกษา เราเป็นตัวแทนจำหน่ายแอร์แคเรียร์อย่างเป็นทางการ มั่นใจได้ถึงความปลอดภัย ทนทาน ประหยัดพลังงาน รวมถึงบริการทั้งก่อนและหลังการขายอย่างครบวงจรโดยพนักงานมืออาชีพ ติดต่อเราได้เลย ที่นี่

สอบถามข้อมูลสินค้าเพิ่มเติมได้ที่
https://bgrimmtrading.com/contact-us/
อีเมล: [email protected]
เบอร์โทรศัพท์ : +66 (0) 2710 3000
Line Official Account :  https://lin.ee/ItAW7DS  @bgrimmtrading

เรื่องล่าสุด

Air Circuit Breaker คืออะไร มีกี่ชนิด

ACB cover content bgrimm trading page

Air Circuit Breaker คืออะไร มีกี่ชนิด

ACB content image bgrimm trading

ACB (Air Circuit Breaker) หรือแอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์ เป็นเบรกเกอร์ขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มเซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าต่ำ (Low Voltage Circuit Breakers) สามารถดับอาร์คไฟฟ้าในอากาศจึงเรียกว่า Air Circuit Breaker ใช้สำหรับป้องกัน สายประธาน (Main Feeder) และสายป้อน (Feeder) ของระบบไฟฟ้า นิยมใช้งานเป็นเมนเบรกเกอร์สำหรับงานระบบไฟฟ้าที่ต้องการความปลอดภัยและความต่อเนื่องในการทำงาน เช่นงานแรงดันสูง (HVAC) ในโรงงาน อาคารขนาดใหญ่ ระบบส่งจ่ายไฟ และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า สำหรับติดตั้งในตู้ MDB หรือตู้สวิทช์บอร์ด

คุณลักษณะทั่วไป

  • มีพิกัดกระแสต่อเนื่องสูง แข็งแรง ตัดวงจรไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็วและทนกระแสไฟฟ้าได้สูงสุดถึง 6,300 A
  • โครงสร้างทั่วไปทำด้วยเหล็กมีช่องดับอาร์ก (Arcing chamber) ที่ใหญ่และแข็งแรงเพื่อให้สามารถรับกระแสลัดวงจรจำนวนมากได้ ส่วนใหญ่จะมีหลักการทำงานโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการตรวจจับและวิเคราะห์กระแสเพื่อสั่งปลดวงจรไฟฟ้า
  • ตัวเครื่องเป็นแบบเปิดโล่ง (Open Frame) มีอุปกรณ์และกลไกจำนวนมาก ติดตั้งอย่างเปิดโล่งเห็นได้ชัดเจน

Air Circuit Breaker ต่างกับ MCCB (Molded Case Circuit Breakers) อย่างไร

  • ทั้ง ACB และ MCCB Air Circuit Breaker สามารถดับอาร์คไฟฟ้าในอากาศได้เหมือนกัน แต่แอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์จะมีขนาดใหญ่และสามารถเปลี่ยนกระแสไฟฟ้าได้ดีกว่า
  • ACB สามารถเพิ่มอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ได้ตามความต้องการเพื่อเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้ใช้งานและเพิ่มสเถียรภาพในระบบไฟฟ้า ต่างจาก MCCB ที่ชิ้นส่วนทั้งหมดปรับตั้งมาจากโรงงานไม่สามารถเพิ่มอุปกรณ์ภายหลังได้
  • ACB มีความแข็งแรง ทนกระแสลัดวงจรได้สูง มีค่า Icw (Rated Short-Time Withstand Current) หรือค่าที่อุปกรณ์จะทนค่ากระแสลัดวงจรได้โดยที่อุปกรณ์ไม่เสียหายได้นาน 1s (วินาที) ในขณะที่ MCCB จะทนกระแสลัดวงจรได้เพียง 10-20 ms (มิลลิวินาที)
  • MCCB ไม่ต้องบำรุงรักษา เนื่องจากชิ้นส่วนทั้งหมดจะอยู่ภายใน Molded Plastic ความชื้นหรือฝุ่นจึงเข้าถึงได้ยาก ในขณะที่ ACB ต้องมีการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ

ACB มีกี่ชนิด
แอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Air Circuit Breaker) จะมี 2 ชนิดคือ

  1. แบบติดตั้งอยู่กับที่ (Fixed Type) โดยการขันสกรูยึดติดกับเมนเบรกเกอร์ การถอดเพื่อซ่อมบำรุงจะต้องปิดสวิทช์และใช้เวลามาก และ
  2. แบบถอดออกได้ (Drawout Type) ติดตั้งบนโครงล้อเลื่อนที่สามารถเลื่อนไปตามราง สะดวกและประหยัดเวลาในการซ่อมบำรุง

Siemens Air Circuit Breaker
สำหรับใครที่กำลังมองหาแอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์ บี.กริม เทรดดิ้ง เราขอแนะนำ เซอร์กิตเบรกเกอร์รุ่น 3WT จากซีเมนส์ที่ออกแบบมาให้มีฟังก์ชันการใช้งานที่ง่ายดาย มีประสิทธิภาพสูง มีหน้าจอแสดงผลแบบ LCD Display สำหรับแสดงสถานะการทำงาน และรุ่น 3WL เบรกเกอร์ที่มีประสิทธิภาพและเทคโนโลยีที่สูงที่สุดในด้านการป้องกันระบบไฟฟ้าและระบบการสื่อสาร สามารถรองรับการใช้งาน ตั้งแต่ 630A จนถึง 6300A ด้วยค่า Breaking capacity (Icu) ที่สูงถึง 150kA ที่ 690V

บี.กริม เทรดดิ้ง เรามีทีมงานมืออาชีพที่คอยให้คำปรึกษา เราเป็นตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าจากซีเมนส์อย่างเป็นทางการ มั่นใจได้ถึงความปลอดภัย ทนทาน ประหยัดพลังงาน รวมถึงบริการทั้งก่อนและหลังการขายอย่างครบวงจรโดยพนักงานมืออาชีพ ติดต่อเราได้เลย ที่นี่

สอบถามข้อมูลสินค้าเพิ่มเติมได้ที่
https://bgrimmtrading.com/contact-us/
อีเมล: [email protected]
เบอร์โทรศัพท์ : +66 (0) 2710 3000
Line Official Account :  https://lin.ee/ItAW7DS  @bgrimmtrading

เรื่องล่าสุด

ติด ‘เบรกเกอร์กันดูด’ รับมือไฟดูดช่วงหน้าฝน

rcbo for rainy season | BGRIMM Trading

ติด 'เบรกเกอร์กันดูด' รับมือไฟดูดช่วงหน้าฝน

การสัมผัสอุปกรณ์ไฟฟ้า (โดยเฉพาะส่วนที่เป็นโลหะ) หรือวงจรไฟฟ้าในขณะที่ร่างกายเปียกชื้น หรือในขณะที่ยืนอยู่บนที่เปียกแฉะจะทำให้ถูกไฟดูดได้เนื่องจากน้ำเป็นตัวนำไฟฟ้าชั้นดี จริง ๆ ไฟดูด ไฟรั่ว เป็นภัยใกล้ตัวที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แต่ในช่วงหน้าฝนความเสี่ยงก็จะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว โดยเฉพาะหากฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วม และบ้านของคุณมีระบบป้องกันไฟฟ้าที่ไม่ดีพอ หรือระบบไฟฟ้าเริ่มเสื่อมสภาพตามกาลเวลา เพื่อความไม่ประมาท เรามาดูวิธีป้องกันภัยที่สะดวกและปลอดภัยด้วยเบรกเกอร์กันไฟดูดกัน

เบรกเกอร์กันไฟดูดคืออะไร

เบรกเกอร์กันไฟดูด หรือ เบรกเกอร์กันดูด เป็นอุปกรณ์ป้องกันไฟดูดไฟรั่ว (Residual Current Devices – RCD) ทำหน้าที่ตรวจสอบกระแสไฟฟ้าในบ้านเพื่อป้องกันไฟรั่วไฟดูด โดยจะตัดวงจรอัตโนมัติหากเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วตามค่าที่กำหนด โดยทั่วไปแนะนำที่ 30 มิลลิแอมป์ เนื่องจากเป็นระดับที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต
เบรกเกอร์กันไฟดูด หรือ RCD จะมี 2 ประเภทคือ

  1. RCCB (Residual Current Circuit Breaker) ทำหน้าที่ป้องกันไฟดูด ไฟรั่วแต่ไม่สามารถที่จะกันกระแสลัดวงจรได้ ปกติจะแนะนำให้ติดตั้งควบคู่กับเซอร์กิตเบรกเกอร์
  2. RCBO (Residual Current Circuit Breaker with Overcurrent Protection) ทำงานเช่นเดียวกับ RCCB คือตัดวงจรเมื่อเกิด ไฟดูด ไฟรั่วรวมถึงป้องกันกระแสเกินและกระแสลัดวงจรด้วย เปรียบเสมือนการนำเซอร์กิตเบรกเกอร์ กับ RCCB มารวมเข้าด้วยกัน

เบรกเกอร์กันดูดกับเบรกเกอร์ธรรมดา

เบรกเกอร์ธรรมดา หรือ เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) จะทำหน้าที่ตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติเมื่อตรวจพบความผิดปกติในวงจรไฟฟ้าจากการโหลดเกิน (Overload) หรือไฟฟ้าลัดวงจร (Short Circuit) เท่านั้น ดังนั้นในการขอมิเตอร์ไฟฟ้าบ้านในปัจจุบัน จึงต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์กันไฟดูดไฟรั่วร่วมด้วย ซึ่งตู้คอนซูมเมอร์ยูนิตรุ่นใหม่จะมีส่วนสำหรับติดตั้งเบรกเกอร์กันไฟดูดไฟรั่ว แยกออกมาจากส่วนของเบรกเกอร์โดยเฉพาะ สามารถเลือกแบบตัดวงจรเฉพาะจุดหรือแบบกลุ่ม (เฉพาะวงจรที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟดูด) เพื่อให้สามารถใช้งานไฟฟ้าในส่วนอื่นของบ้านได้ตามปกติ

ไฟดูดไฟรั่วเกิดขึ้นได้อย่างไร

ไฟดูด เกิดขึ้นเมื่อร่างกายไปสัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้าหรือกับสายไฟที่มีการรั่ว ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือสายไฟชำรุดหรือเสื่อมสภาพ การเดินสายไฟที่ไม่ได้มาตรฐาน การขาดการตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือการใช้งานที่ไม่ถูกต้อง

ไฟดูดอันตรายถึงชีวิต

เมื่อถูกไฟดูด กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านร่างกายและลงสู่พื้นดิน อาการจะขึ้นอยู่กับกระแสไฟ เช่นปริมาณกระแสไฟฟ้าต่ำกว่า 10 มิลลิแอมป์ จะรู้สึกว่าถูกดูดแต่ไม่อันตราย ถ้ากระแสไฟฟ้าต่ำกว่า 20 มิลลิแอมป์ อาจเกิดอาการไหม้ตามจุดต่าง ๆ กล้ามเนื้อเกร็งหรือหายใจติดขัด และหากกระแสไฟมากกว่า 30 มิลลิแอมป์ จะทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว อาจหมดสติและเสียชีวิตได้

พบคนถูกไฟดูดต้องทำอย่างไร

เมื่อเกิดเหตุไฟฟ้าดูดขึ้น สิ่งแรกที่ควรทำคือตัดกระแสไฟฟ้าให้เร็วที่สุดโดยการถอดปลั๊ก ปิดเมนสวิตช์ แต่หากไม่สามารถทำได้ห้ามเข้าไปช่วยเหลือผู้ถูกไฟดูดเด็ดขาด เนื่องจากกระแสไฟสามารถข้ามสู่ตัวผู้เข้าไปช่วยได้ กรณีที่ทำได้ควรสวมรองเท้ายางหรือใช้ผ้าขยับสายไฟออกจากผู้บาดเจ็บ เคลื่อนย้ายมายังที่ปลอดภัย (ในกรณีที่ไม่ได้ตกจากที่สูง) ปฐมพยาบาลและนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด

SIEMENS Breaker RCBO กันไฟดูด-ไฟรั่ว-ไฟเกิน-ไฟช็อต

เราได้เห็นถึงประโยชน์ของเบรกเกอร์กันดูดที่จัดเป็นวิธีที่สะดวกและปลอดภัยที่สุดในการป้องกันไฟดูดไฟรั่วได้ตั้งแต่ต้นทาง สิ่งสำคัญคือการเลือกเบรกเกอร์กันไฟดูดที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน

RCD เบรกเกอร์กันดูด
RCCB, RCBO 2P และ RCBO 1P

เบรกเกอร์กันไฟรั่ว/ไฟดูด/ไฟเกิน/ไฟช็อต (RCBO) รุ่น 5SU9 จากซีเมนส์ เป็นอุปกรณ์ที่รวมคุณสมบัติของ RCCB และ MCB (เซอร์กิตเบรกเกอร์ลูกย่อย) เข้าไว้ด้วยกัน สามารถตัดวงจรอัตโนมัติเมื่อมีค่ากระแสไฟรั่ว 10 มิลลิแอมป์ และ 30 มิลลิแอมป์ เหมาะสำหรับใช้ป้องกันไฟดูดแก่ผู้อยู่อาศัย และป้องกันไฟรั่วของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่อยู่ภายนอกอาคาร มีการเพิ่มเติมสายดินให้อุปกรณ์เพื่อให้อุปกรณ์สามารถทำงานได้ในกรณีนิวตรอนหลุดหรือขาดได้มีตัวบอกสถานะการทำงานของอุปกรณ์ ทำให้สามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน เมื่อเกิดเหตุขัดข้อง

หากคุณมีข้อสงสัยหรือต้องการคำแนะนำ บี.กริม เทรดดิ้ง มีทีมงานมืออาชีพที่คอยให้คำปรึกษา เราเป็นตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าจากซีเมนส์ มั่นใจได้ถึงความปลอดภัย ทนทาน ประหยัดพลังงาน รวมถึงบริการทั้งก่อนและหลังการขายอย่างครบวงจรโดยพนักงานมืออาชีพ ติดต่อเราได้เลย ที่นี่

สอบถามข้อมูลสินค้าเพิ่มเติมได้ที่
https://bgrimmtrading.com/contact-us/
อีเมล: [email protected]
เบอร์โทรศัพท์ : +66 (0) 2710 3000
Line Official Account :  https://lin.ee/ItAW7DS  @bgrimmtrading

เรื่องล่าสุด

รถยนต์ไฟฟ้าปลอดภัยจริงไหม เสียค่าไฟเท่าไร

B.Grimm Trading|Siemens|EV Charger

รถยนต์ไฟฟ้าปลอดภัยจริงไหม เสียค่าไฟเท่าไร

electric car charge bgrimm trading

ปีที่แล้วยอดขายของรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกโตชนิดสวนทางกับสถานการณ์โควิด ขายไปได้มากกว่า 6.4 ล้านคัน (เป็นแบบไฮบริด 2.4 ล้านคัน) นำโดยจีน สหรัฐอเมริกา และยุโรป เติบโตขึ้นเกือบสองเท่าจากปีก่อนหน้า แสดงให้เห็นถึงกระแสความนิยมและความมั่นใจที่ผู้คนทั่วโลกมีต่อเทคโนโลยีของรถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

หากคุณเองก็กำลังสนใจรถยนต์ไฟฟ้า แต่ยังไม่แน่ใจว่ารถประเภทนี้มีการทำงานยังไง จะปลอดภัยและคุ้มค่าไหมหากซื้อมาใช้งาน วันนี้เราจะมาช่วยไขข้อข้องใจว่ารถยนต์ไฟฟ้าคืออะไร ชาร์จไฟอย่างไร และชาร์จครั้งนึงต้องจ่ายค่าไฟเท่าไรกัน

รถยนต์ไฟฟ้าคืออะไร

รถยนต์ไฟฟ้าหรือรถ EV (Electric vehicle) เป็นนวัตกรรมยานยนต์ที่ใช้ไฟฟ้าในการขับเคลื่อน 100% มีส่วนประกอบหลักคือ แบตเตอรี่ อุปกรณ์แปลงกระแสไฟฟ้า และมอเตอร์ไฟฟ้า โดยแบตเตอรี่จะทำหน้าที่เก็บพลังงานไฟฟ้า ส่วนตัวแปลงกระแสจะเปลี่ยนไฟฟ้าเป็นกระแสสลับและส่งไปยังมอเตอร์เพื่อขับเคลื่อนรถยนต์ ข้อดีของการใช้ไฟฟ้าก็คือการทำงานของเครื่องยนต์จะเงียบ ไร้เสียงรบกวน ไม่มีการปล่อยไอเสีย และประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางในยุคที่ค่าน้ำมันแพงแบบนี้

ปลอดภัยไหม?

รถยนต์ไฟฟ้าแทบทุกรุ่นในท้องตลาดทั่วโลก (และทุกรุ่นที่ขายในไทย) ใช้แบตเตอรีลิเธียม-ไอออน (Lithium-ion) ซึ่งมีคุณสมบัติเด่นคือน้ำหนักเบาจึงช่วยประหยัดพลังงาน ประสิทธิภาพในการชาร์จสูงและเสถียร มีอายุการใช้งานที่ยาวนานรวมถึงไม่มีสารที่เป็นอันตรายต่อธรรมชาติจึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ถึงแม้ว่าแบตลิเธียมไออนสามารถติดไฟได้ในกรณีที่ตัวเครื่องได้รับความเสียหายและเกิดไฟฟ้าลัดวงจรหรือที่เรียกว่า Thermal runaway หรือการระเบิดจากความร้อนต่อเนื่อง ซึ่งจากงานวิจัยพบว่าโอกาสที่จะเกิดขึ้นนั้นน้อยมากเพียง 1 ใน 100 ล้านโดยเฉพาะหากมีการใช้งานอย่างถูกต้อง เมื่อเทียบกับรถยนต์ทั่วไปที่ใช้การเผาไหม้ของน้ำมันเชื้อเพลิง โอกาสที่จะเกิดไฟลุกลามย่อมสูงกว่ามาก

ชาร์จแบตยังไง นานแค่ไหน? เท่าไร?

รถยนต์ไฟฟ้าสามารถชาร์จได้ 2 แบบ คือการชาร์จแบบธรรมดา (AC Charge/Normal Charge) และการชาร์จแบบด่วน (Quick Charge/Fast Charge)

การชาร์จแบบ AC (Alternative Current หรือไฟฟ้ากระแสสลับ) คือการชาร์จที่บ้านโดยใช้ EV Charger หรือเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า ระยะเวลาที่ใช้ในการชาร์จจะอยู่ที่ประมาณ 4-16 ชม. ขึ้นอยู่กับยี่ห้อ รุ่นของรถยนต์ และขนาดของ On-Board Charger เช่น รถที่มีความจุแบตเตอรีที่ 60-90 kW จะวิ่งได้ประมาณ 300-500 กม. ต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง ส่วนอัตราค่าชาร์จจะอยู่ที่ประมาณ 0.5 – 1.09 บาท/กิโลเมตร ในขณะที่น้ำมันรถทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 3-5 บาท/กิโลเมตร เรียกว่าช่วยประหยัดค่าน้ำมันรถไปได้ร่วม 3 เท่าสำหรับการชาร์จไฟเองที่บ้าน

ข้อแนะนำ

  • ตรวจสอบขนาดมิเตอร์ที่บ้าน ขั้นต่ำควรอยู่ที่ 30(100) แอมป์ (A) เพราะรถ EV จะกินกระแสไฟฟ้าขณะชาร์จอย่างต่อเนื่องมากกว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ ภายในบ้าน
  • ต้องติดตั้งเต้ารับ (Socket) โดยเฉพาะสำหรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า
  • ควรเลือกเครื่องชาร์จที่มีกำลังชาร์จเหมาะสมกับขนาดของ On-Board Charger ของรถยนต์ไฟฟ้าของคุณ
  • แนะนำให้ชาร์จแบตให้เต็มสัปดาห์ละครั้งเพื่อกระตุ้นเซลล์เก็บประจุให้ทำงานครบ จะช่วยยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี

การชาร์จแบบด่วน (Quick Charge/Fast Charge หรือ DC Charge) เป็นการชาร์จในสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ใช้ระยะเวลาน้อยกว่าการชาร์จแบบธรรมดามากแต่ก็มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า โดยเฉลี่ยใช้เวลาประมาณ 30 นาที – 2 ชม. หรือถ้าเป็นแบบ DC High Power ก็สามารถชาร์จแบตเตอรี่ได้ในเวลาเพียง 10 – 20 นาทีเท่านั้น (จาก 0 – 80%) เมื่อปีที่แล้วการไฟฟ้านครหลวงได้กำหนดค่าบริการสำหรับสถานีชาร์จรถไฟฟ้าในอัตรา 2.63 บาทต่อหน่วย และสำหรับรายเดือนที่อัตรา 312.24 โดยจะคงใช้เป็นเวลา 2 ปีก่อนทบทวนใหม่นโยบายสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า

ข้อแนะนำ

  • การชาร์จแบบ DC เป็นประจำจะทำแบตเตอรี่รถยนต์เสื่อมสภาพเร็วขึ้น หากต้องการใช้ควรชาร์จแค่ 2 ใน 10 ครั้งของการชาร์จทั้งหมด เช่นถ้าในหนึ่งเดือน (30 วัน) คุณชาร์จรถทุกวัน คุณไม่ควรชาร์จแบบด่วนเกิน 6 ครั้ง เพื่อเป็นการถนอมแบต

รถยนต์ไฟฟ้าถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยคุณประหยัดทั้งพลังงานและค่าใช้จ่าย หากคุณสนใจสามารถติดต่อ บี.กริม เทรดดิ้ง เราเป็นตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ EV Charger และเรามีผู้เชี่ยวชาญยินดีให้คำแนะนำ ทั้งการเลือกซื้อ EV Charger การเลือกขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าให้เหมาะสม และการติดตั้งกับระบบไฟบ้าน เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย สามารถติดต่อเพื่อปรึกษาเราได้ ที่นี่

สอบถามข้อมูลสินค้าเพิ่มเติมได้ที่
https://bgrimmtrading.com/contact-us/
อีเมล: [email protected]
เบอร์โทรศัพท์ : +66 (0) 2710 3000
Line Official Account :  https://lin.ee/ItAW7DS  @bgrimmtrading

เรื่องล่าสุด

เซอร์กิตเบรกเกอร์ (CIRCUIT BREAKER) มีกี่ประเภท เลือกใช้งานอย่างไร

เบรกเกอร์ เซอร์กิตเบรกเกอร์

เซอร์กิตเบรกเกอร์ (CIRCUIT BREAKER) มีกี่ประเภท เลือกใช้งานอย่างไร

ซีเมนส์ เบรกเกอร์
เซอร์กิต เบรกเกอร์

เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่าเบรกเกอร์ เป็นอุปกรณ์ที่เปรียบเสมือนปราการแรกที่ช่วยป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจร ภัยอันดับหนึ่งที่นำไปสู่ความสูญเสียทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน เซอร์กิตเบรกเกอร์จะทำหน้าที่ตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติเมื่อตรวจพบความผิดปกติในวงจรไฟฟ้า ซึ่งมักเกิดจากการโหลดเกินหรือไฟฟ้าลัดวงจร สังเกตได้จากด้ามจับคันโยกที่จะเลื่อนมาที่ตำแหน่ง Trip (อยู่กึ่งกลางระหว่าง ON และ OFF) เมื่อทำการแก้ไขเรียบร้อยก็จะสามารถโยกเลื่อนกลับไปต่อใช้งานได้เช่นเดิมโดยที่ตัวเบรกเกอร์เองไม่ได้รับความเสียหาย

เซอร์กิตเบรกเกอร์ต่างจากคัทเอาท์อย่างไร
ทุกวันนี้เราจะเห็นว่าเซอร์กิตเบรกเกอร์ถูกนำมาใช้แทนที่คัทเอาท์ (หรือสะพานไฟ) ที่ตัดไฟฟ้าด้วยมือโดยการใช้คันโยก ความยุ่งยากของคัทเอาท์คือเมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจรหรือไฟช็อต เส้นตะกั่วที่เป็นตัวควบคุมจะละลายและขาดออกทำให้ต้องเปลี่ยนทั้งเส้นตะกั่วและกระบอกฟิวส์ก่อนที่จะใช้งานได้อีกครั้ง ดังนั้นบ้านใครยังใช้คัทเอาท์อยู่ก็แนะนำให้เปลี่ยนมาใช้เซอร์กิตเบรกเกอร์ซึ่งสะดวกกว่ามาก เนื่องจากสามารถตัดวงจรไฟฟ้าแบบอัตโนมัติเมื่อเกิดความผิดปกติในระบบไฟฟ้าและสามารถปิดหรือต่อวงจรได้ทันทีหลังจากแก้ปัญหาความผิดปกติในระบบได้แล้ว ไม่ต้องทำการเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่เหมือนกับคัทเอาท์

เซอร์กิตเบรกเกอร์ มีกี่ขนาด
เซอร์กิตเบรกเกอร์มีหลายแบบ ทั้งขนาดเล็กที่ใช้สำหรับวงจรที่มีกระแสไฟฟ้าต่ำหรือพวกเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน จนถึงสวิตช์ขนาดใหญ่สำหรับวงจรไฟฟ้าแรงสูงที่จ่ายไฟให้ตัวเมือง ถ้าแบ่งตามพิกัดแรงดันจะแบ่งได้ 3 กลุ่ม คือ

  1. เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าต่ำ (Low Voltage)
  2. เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าปานกลาง (Medium Voltage) 
  3. เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าสูง (High Voltage)

บทความนี้เราจะพูดถึงกลุ่ม Low Voltage ซึ่งเป็นแบบที่นิยมใช้กันทั่วไปในบ้านพักอาศัยหรือในเชิงพาณิชย์อุสาหกรรม

เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าต่ำ (Low Voltage Circuit Breakers)
เป็นเบรกเกอร์ที่มีแรงดันน้อยกว่า 1,000 V AC นิยมติดตั้งในตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต ตู้ DB หรือตู้โหลดเซ็นเตอร์และมักจะติดตั้งในตู้ที่เปิดออกได้ เพื่อถอดและเปลี่ยนได้โดยไม่ต้องถอดสวิตช์ออก ทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลัก ๆ คือ MCB, RCD, MCCB และ ACB แต่ละประเภทจะแตกต่างกันทั้งในด้านการออกแบบ ขนาด รูปร่าง เพื่อให้เข้ากับลักษณะการใช้งานที่หลากหลาย

1. MCB (Miniature Circuit Breakers) หรือที่เรียกกันว่าเบรกเกอร์ลูกย่อยหรือลูกสกิต เป็นเบรกเกอร์ขนาดเล็ก สำหรับใช้ในบ้านพักอาศัยหรืออาคารที่มีการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน100A มีทั้งขนาด 1, 2, 3 และ 4 Pole ใช้ได้กับระบบกระแสไฟฟ้าทั้งแบบ 1 เฟสและ 3 เฟส
การติดตั้ง
มี 2 แบบที่นิยมคือPlug-on ที่สามารถติดตั้งได้ง่ายเพียงดันตัวเบรคเกอร์เข้ากรอบที่เตรียมไว้ และแบบ Din-rail ที่ต้องใช้เครื่องมือช่างในการประกอบ ใช้ติดตั้งเป็นอุปกรณ์ป้องกันร่วมกับแผงจ่ายไฟฟ้าย่อย (Load center) หรือแผงจ่ายไฟฟ้าในห้องพักอาศัย (Consumer unit)

Miniature Circuit Breakers
Miniature Circuit Breakers

2. RCDs (Residual Current Devices) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับตัด/ป้องกันกันไฟรั่วไฟดูดอัตโนมัติตามพิกัดที่กำหนดไว้ ก่อนติดตั้งเครื่องต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าได้เดินสายดินหรือสายกราวด์เรียบร้อยแล้ว
RCD มีอุปกรณ์อยู่หลัก ๆ 2 ตัวคือ

  1. RCCB (Residual Current Circuit Breaker) ทำหน้าที่ป้องกันไฟรั่ว ไฟดูด แต่ไม่สามารถตัดกระแสลัดวงจรได้ จะใช้คู่กับ MCB, MCCB
  2. RCBO (Residual Current Circuit Breaker with Overcurrent Protection) จะตัดวงจรเมื่อเกิดไฟรั่ว ไฟดูด รวมถึงป้องกันกระแสเกินและกระแสลัดวงจรด้วย เปรียบเสมือนการนำเมนเบรกเกอร์ กับ RCCB มารวมเข้าด้วยกัน
RCD เบรกเกอร์กันดูด
RCCB, RCBO 2Pole และ RCBO 1Pole

3. MCCB (Molded Case Circuit Breakers) คือเบรกเกอร์ที่ใช้เป็นสวิตช์เปิด-ปิดวงจรไฟฟ้า รวมถึงตัดกระแสไฟฟ้าเมื่อมีไฟรั่วหรือลัดวงจร ใช้กับกระแสไฟตั้งแต่ 100-2,300A แรงดันไม่เกิน1,000โวลต์ นิยมติดตั้งในตู้ไฟฟ้า (Local panel) สำหรับอาคารขนาดใหญ่หรือโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากสามารถทนกระแสลัดวงจรหรือค่า kA

ซีเมนส์ MCCB
MCCB (Molded Case Circuit Breakers)

4. ACB (Air Circuit Breakers) เป็นเบรกเกอร์ขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่ม Low Voltage ทนกระแสไฟฟ้าได้สูงสุดถึง6,300A นิยมใช้งานเป็นเมนเบรกเกอร์ในโรงงานกับงานแรงดันสูง (HVAC) ติดตั้งในตู้ MDB ต้องการการดูแลอย่างต่อเนื่อง สามารถเพิ่มอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ได้ตามความต้องการ ต่างจาก MMCB ที่เพิ่มอุปกรณ์ไม่ได้

ACB ซีเมนส์
ACB (Air Circuit Breakers)

วิธีเลือกเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker)
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าระบบไฟฟ้าในประเทศไทยจะเป็นแบบ 1 เฟส (สำหรับที่พักอาศัย) และ 3 เฟส (สำหรับโรงงานหรืออาคารพาณิชย์) การเลือกเซอร์กิตเบรกเกอร์ให้เหมาะสมกับงานที่ใช้จึงต้องดูที่ (1) จำนวน Pole ที่จะเป็นตัวบ่งบอกว่าเบรกเกอร์ที่ใช้นั้นเป็นชนิด 1 เฟส หรือ 3 เฟส และ (2) ค่าพิกัดกระแสซึ่งจะบ่งบอกถึงค่าจำกัดในการใช้งานของเซอร์กิตเบรกเกอร์

  1. จำนวน Pole แบ่งออกเป็น 4 ชนิดดังนี้
    • 4 Pole – เซอร์กิตเบรกเกอร์สำหรับระบบ 3 เฟส ป้องกันสาย line และสาย neutral เหมาะสำหรับระบบที่ต้องการความปลอดภัยสูง เพราะสามารถป้องกันได้ทั้ง 4 เส้นหากระบบไฟฟ้าเกิดความผิดปกติ
    • 3 Pole – เซอร์กิตเบรกเกอร์สำหรับระบบ 3 เฟส ป้องกันสาย line อย่างเดียว นิยมใช้ในอาคารพาณิชย์และโรงงานอุตสาหกรรม
    • 2 Pole – เซอร์กิตเบรกเกอร์สำหรับระบบ 1 เฟส ป้องกันสาย line และสาย neutral มักใช้เป็นเมนเบรกเกอร์ในตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต มีทั้งแบบ MCB และ MCCB
    • 1 Pole – เซอร์กิตเบรกเกอร์สำหรับระบบ 1 เฟส ป้องกันสาย line อย่างเดียว ส่วนใหญ่จะเป็นเบรกเกอร์ลูกย่อยที่ใช้ร่วมกับตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต มักใช้ในบ้านพักอาศัย
  2. ค่าพิกัดกระแสที่ควรทราบมีดังนี้
    • Interrupting Capacitive (IC) – พิกัดการทนกระแสลัดวงจรสูงสุดโดยปลอดภัยของเบรกเกอร์นั้น ๆ มักแสดงในหน่วย kA (กิโลแอมแปร์)
    • Amp Trip (AT) – หรือที่เรียกว่า แอมป์ทริป คือค่ากระแสที่เบรกเกอร์เริ่มทำงาน เป็นตัวบอกให้รู้ว่าเบรกเกอร์ตัวนั้นสามารถทนต่อกระแสในภาวะปกติได้สูงสุดเท่าใด เช่น เบรกเกอร์ที่มีค่าแอมป์ทริป 100A เมื่อกระแส 0-100A ไหลผ่าน เบรกเกอร์จะไม่ทริป แต่หากมีกระแส 130A คงที่ไหลผ่าน เบรกเกอร์จะทริปภายในเวลา 2 ชั่วโมง
    • Amp Frame (AF) – พิกัดกระแสโครง หมายถึงพิกัดการทนกระแสสูงสุดของเบรกเกอร์นั้น ๆ เซอร์กิตเบรกเกอร์ที่มีขนาด AF เดียวกันจะมีขนาดมิติ (กว้างXยาวXสูง) เท่ากัน สามารถเปลี่ยนพิกัด Amp Trip ได้โดยที่ขนาด (มิติ) ของเบรกเกอร์ยังคงเท่าเดิม

หากคุณมีข้อสงสัยหรือต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกซื้อเซอร์กิตเบรกเกอร์ บี.กริม เทรดดิ้ง เรามีทีมงานมืออาชีพที่คอยให้คำปรึกษา เราเป็นตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าจากซีเมนส์ มั่นใจได้ถึงความปลอดภัย ทนทาน ประหยัดพลังงาน รวมถึงบริการทั้งก่อนและหลังการขายอย่างครบวงจรโดยพนักงานมืออาชีพ ติดต่อเราได้เลย ที่นี่

สอบถามข้อมูลสินค้าเพิ่มเติมได้ที่
https://bgrimmtrading.com/contact-us/
อีเมล: [email protected]
เบอร์โทรศัพท์ : +66 (0) 2710 3000
Line Official Account :  https://lin.ee/ItAW7DS  @bgrimmtrading

เรื่องล่าสุด

เครื่องสูบน้ำดับเพลิง อุปกรณ์ด้านความปลอดภัยที่สำคัญ

Fire pump Bgrimm trading

เครื่องสูบน้ำดับเพลิง อุปกรณ์ด้านความปลอดภัยที่สำคัญ

เหตุการณ์ไม่คาดฝันด้านอัคคีภัยสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ ซึ่งหนึ่งในอุปกรณ์สำคัญที่ผู้ประกอบการควรมีและใส่ใจ เพื่อสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน นั่นก็คือเครื่องสูบน้ำดับเพลิง ไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของธุรกิจหรือบุคคลทั่วไปที่มีสำนักงานหรือโรงงานก็ตาม การมีเครื่องสูบน้ำดับเพลิงเอาไว้จะช่วยสร้างความอุ่นใจต่อการทำงานมากยิ่งขึ้น

มาทำความรู้จักและเข้าใจกับเครื่องสูบน้ำประเภทต่าง ๆ และการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี รวมถึงเหตุผลว่าทำไมอุปกรณ์ชนิดนี้ ถึงมีความสำคัญต่อการนำไปใช้งานในทุก ๆ สถานที่

เครื่องสูบน้ำดับเพลิงชนิดต่างๆ

เครื่องสูบน้ำดับเพลิง คืออะไร?

เครื่องสูบน้ำดับเพลิง หรือ Fire pump คือหนึ่งในเครื่องมือที่มีความจำเป็นต่อสถานที่ที่ต้องการความปลอดภัยจากเหตุอัคคีภัย เช่น อาคารสูง สำนักงาน แหล่งชุมชน เป็นต้น ซึ่งจะมีให้เลือกหลากหลายประเภทตามความเหมาะสมของการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นระบบขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ รวมไปถึงระบบการควบคุม ที่มีทั้งแบบ MANUAL และ AUTOMATIC

การดูแล ซ่อมแซม และบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำให้อยู่ในสภาพดีพร้อมใช้งานถือเป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญอย่างมาก เพราะเมื่อมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันอย่างเหตุไฟไหม้เกิดขึ้น หากอุปกรณ์มีความพร้อมในการใช้งานก็จะสามาถช่วยบรรเทาและลดความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น

สำหรับการดูแลรักษานั้น จะต้องมีความเข้าใจและคำนึงถึงหน้าที่ในองค์ประกอบต่าง ๆ ของเครื่องสูบน้ำ รวมถึงยังจะต้องมีการติดตั้งในตำแหน่งที่เหมาะสม ซึ่งควรอยู่ใกล้กับประตูทางเข้า-ออกของห้องปั๊มน้ำเพื่อให้สะดวกและง่ายต่อการใช้งาน นอกจากนี้ยังจะต้องใส่ใจในกระบวนการติดตั้งของการเดินท่อน้ำและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ว่าต้องมีความถูกต้องเพื่อประสิทธิภาพต่อการใช้งานสูงสุด

เข้าใจความแตกต่างและการดูแลรักษาเครื่องสูบน้ำดับเพลิงชนิดต่าง ๆ

โดยทั่วไปแล้วเครื่องสูบน้ำดับเพลิงที่นิยมใช้กันจะมีอยู่ 3 แบบ ซึ่งจะมีความแตกต่างกันทั้งในด้านการใช้งานและการบำรุงรักษา ดังนี้

เครื่องสูบน้ำดับเพลิงชนิด END SUCTION CENTRIFUGAL PUMPS

หรืออาจเรียกว่าชนิดแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง สำหรับเครื่องสูบชนิดนี้จะเหมาะกับ Flow rate ที่ไม่มากนัก โดยจะต้องเป็นการติดตั้งในลักษณะที่ระดับผิวน้ำจากแหล่งเก็บน้ำดับเพลิง หรือบ่อพักน้ำดับเพลิงอยู่สูงกว่าตัวเครื่องสูบน้ำ

ในด้านการดูแลรักษา จะต้องทำการเช็กอัดจาระบีลูกปืนอย่างสม่ำเสมอ โดยในระหว่างการใช้งานให้เติมจาระบีสำหรับ Ball bearing โดยเฉพาะเข้าไปในทุก ๆ 3 เดือน หรือหากมีการเก็บเครื่องสูบน้ำไว้นานจนจาระบีเดิมเริ่มเสื่อมสภาพ ก็จำเป็นจะต้องเปลี่ยนจาระบีใหม่เช่นกัน อีกหนึ่งข้อควรระวังก็คืออย่าอัดจาระบีมากเกินไปเพราะอาจจะทำให้ลูกปืนร้อน สำหรับการเติมจาระบีที่เหมาะสม ควรเติมจาระบีเพียง 3 ใน 4 ส่วนของปริมาณห้องตลับลูกปืนเท่านั้น

นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งเรื่องที่จำเป็นต้องดูแลอย่างสม่ำเสมอ นั่นก็คือการเช็ก Packing seal ซึ่งปกติแล้วจะมีน้ำในระบบเครื่องสูบน้ำไหลมาเลี้ยงที่ Packing seal ประมาณ 3 – 4 หยดต่อนาที แต่หากไหลออกมามากกว่านี้ให้ขัน Packing seal ให้แน่นแต่ต้องไม่แน่นจนเกินไป เพราะอาจเป็นเหตุให้เพลาปั๊มชำรุดและสึกกร่อนจากการเสียดสีกับ Packing seal ได้ แต่ถ้าหาก Packing seal เริ่มเสื่อมสภาพและไม่สามารถขันได้ ก็ควรจะต้องเปลี่ยนใหม่เพื่อให้การใช้งานของเครื่องสูบน้ำมีสภาพที่สมบูรณ์ที่สุด

เครื่องสูบน้ำดับเพลิงชนิด HORIZONTAL SPLIT CASE PUMPS

เหมาะสำหรับปริมาณการสูบน้ำน้อยไปจนถึงปริมาณสูบน้ำมาก (ประมาณ 500-5000 GPM) หากระดับน้ำในแหล่งเก็บน้ำหรือบ่อพักน้ำดับเพลิงอยู่สูงกว่าตัวปั๊ม ควรเลือกใช้เครื่องสูบประเภทนี้ 

เนื่องจากระบบการดูดและการส่งน้ำของเครื่องสูบน้ำชนิดนี้ ถูกออกแบบให้อยู่ด้านข้าง ดังนั้นหากต้องการซ่อมแซมเครื่องสูบก็สามารถเปิด Casing ด้านบนออกได้เลย ซึ่งง่ายและสะดวกต่อการซ่อมบำรุงอย่างมาก เพราะไม่ต้องถอดเครื่องภายในออกให้วุ่นวาย ส่วนการดูแลรักษาอื่น ๆ ก็จะคล้ายกับเครื่องสูบน้ำชนิด END SUCTION CENTRIFUGAL PUMPS ที่ได้กล่าวไปข้างต้น โดยจะต้องมีการตรวจสอบการอัดจาระบีลูกปืนในทุก ๆ 3 เดือนระหว่างการใช้งาน และตรวจเช็ก Packing seal ว่ามีการสึกกร่อนหรือมีหรือน้ำในระบบเครื่องสูบไหลมาเลี้ยง Packing seal เกิน 3 – 4 หยดต่อนาทีหรือไม่

เครื่องสูบน้ำดับเพลิงชนิด VERTICAL TURBINE PUMPS

เครื่องสูบน้ำที่ได้รับนิยมประเภทสุดท้าย เป็นเครื่องสูบน้ำที่ควรติดตั้งในลักษณะระดับผิวน้ำของแหล่งน้ำดับเพลิงหรือบ่อพักน้ำดับเพลิง ซึ่งจะต้องอยู่ต่ำกว่าตัวเครื่อง ในกรณีที่ใบพัดเดียวของเครื่องสูบน้ำไม่ตอบโจทย์กับการใช้งาน สามารถเปลี่ยนไปใช้ใบพัดหลายใบได้อีกด้วย 

ในด้านการดูแลรักษา เป็นเครื่องสูบน้ำที่ออกแบบมาให้บำรุงรักษาได้ง่ายและสะดวก สามารถถอด Mechanical seal ออกมาซ่อมได้เลยโดยไม่ต้องถอดมอเตอร์ออกมาจากตัวเรือนปั๊ม

การปรับขนาดเครื่องสูบน้ำดับเพลิง

วิธีการปรับขนาดเครื่องสูบน้ำดับเพลิงอย่างเหมาะสม

NFPA 20  คือ มาตรฐานการติดตั้งเครื่องสูบน้ำดับเพลิงสำหรับการป้องกันอัคคีภัย ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงมากที่สุดสำหรับการเลือกเครื่องสูบน้ำ และได้รับการยอมรับจากทั่วโลก 

สำหรับอาคารสูงควรใช้ระบบเครื่องสูบน้ำอัตโนมัติขนาด 500 แกลลอนต่อนาทีและ 100 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ส่วนอาคารทั่วไปสามารถใช้ระบบเครื่องสูบน้ำแบบ Manual ได้ โดยใช้ความดันที่เหมาะสม ทั้งนี้จะต้องทำการวิเคราะห์โครงสร้างของอาคารก่อนทำการปรับขนาดเครื่องสูบน้ำร่วมด้วย

บี.กริม เทรดดิ้ง เราเป็นผู้จัดจำหน่ายอย่างเป็นทางการแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยของเครื่องสูบน้ำดับเพลิง Patterson จากสหรัฐอเมริกา เราพร้อมให้บริการโดยทีมงานและทีมช่างมืออาชีพโดยเฉพาะ สามารถติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมดานล่างนี้เลยค่ะ

สอบถามข้อมูลสินค้าเพิ่มเติมได้ที่

👷🏻ติดต่อ : คุณป้อมเพชร วิศยทักษิณ ผู้จัดการฝ่ายขาย (Mechanical Department)
📱เบอร์โทรศัพท์ : 02-710-3211 / 081-610-6604
📱Line id : Pompetch.w

🌐 https://bgrimmtrading.com/contact-us/
📧 อีเมล: [email protected]
📱เบอร์โทรศัพท์ : 02-710-3211

เรื่องล่าสุด

5 ปัญหาระบบสูบน้ำดับเพลิง และวิธีตรวจสอบปั๊มน้ำดับเพลิงที่เหมาะสม

fire-pump-investigation

5 ปัญหาระบบสูบน้ำดับเพลิง และวิธีตรวจสอบปั๊มน้ำดับเพลิงที่เหมาะสม

บริการตรวจระบบดับเพลิง

การตรวจบำรุงระบบดับเพลิงให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่ตลอดเวลานั้น เป็นสิ่งที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอ เพราะอุบัติเหตุจากไฟฟ้าลัดวงจร หรือสาเหตุต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดอัคคีภัยมีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอ และถ้าหากเกิดเหตุไม่คาดฝันอย่างเหตุไฟไหม้ขึ้นมาเมื่อไหร่ ระบบดับเพลิงที่ไม่สามารถใช้งานได้ หรือปั๊มน้ำดับเพลิงเกิดการชำรุด ก็อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงทั้งชีวิตและทรัพย์สิน อย่างที่คุณไม่สามารถคาดการณ์ได้เลย

ระบบสูบน้ำดับเพลิงชำรุดเกิดจากสาเหตุอะไร?

กฎเหล็กที่ทำจะให้ระบบสูบน้ำดับเพลิงในสถานประกอบการของคุณมีประสิทธิภาพ จะมีอยู่ด้วยกัน 5 ข้อ ซึ่งถ้าคุณละเลยสิ่งเหล่านี้ไป ก็อาจกลายเป็นสาเหตุที่ทำให้ระบบสูบน้ำและปั๊มน้ำดับเพลิงชำรุด หรือเกิดความเสียหายจนใช้งานไม่ดีเท่าที่ควร หรืออาจส่งผลให้ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ทั้งระบบ กลายเป็นค่าใช้จ่ายที่บานปลายในที่สุด เรามาดูกันว่า สิ่งที่คุณจะต้องดูแลให้พร้อมทั้ง 5 ข้อ มีอะไรบ้าง 

1. แหล่งน้ำที่ใช้ต้องไม่สกปรก

แหล่งน้ำที่ใช้ในระบบดับเพลิงจะต้องเป็นน้ำที่สะอาด ปราศจากสิ่งปนเปื้อน เนื่องจากสิ่งสกปรกอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เครื่องยนต์ของระบบสูบน้ำดับเพลิงตัน จนไม่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังส่งผลให้เครื่องยนต์ทำงานหนักขึ้น ก่อให้เกิดความร้อนสะสม และอาจทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาอีกมากมายจนทำให้ระบบดับเพลิงของคุณเสียหายในที่สุด

ในส่วนของน้ำสะอาดที่ได้มาตรฐาน หลาย ๆ สถานประกอบการอาจมองข้ามไป ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว แหล่งน้ำสะอาดที่นิยมใช้งานกันในปัจจุบันมีอยู่ทั้งหมด 2 แหล่ง ดังนี้

  • แหล่งน้ำธรรมชาติ: บ่อน้ำที่ขุดไว้ภายในสถานประกอบการ อาจมีการวางผ้าใบเพื่อป้องกันสารหรือแร่ธาตุปนเปื้อน
  • ถังน้ำสำรอง: ติดตั้งสำหรับระบบดับเพลิงโดยเฉพาะ โดยน้ำที่อยู่ในถังสำรองจะต้องมีความสะอาดตรงตามมาตรฐานการใช้งานของระบบสูบน้ำดับเพลิง

2. ไม่ได้ใช้งานระบบดับเพลิงเป็นเวลานาน

ภายในระบบดับเพลิงมีเครื่องยนต์ที่ทำหน้าที่เป็นกลไกในการทำงาน ซึ่งการที่เครื่องยนต์ถูกปล่อยทิ้งไว้ ไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานาน ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหากับตัวเครื่องได้ ดังนั้น การทดสอบระบบและตรวจสอบการเดินเครื่องอย่างสม่ำเสมอตามกฎหมาย หรือตามประกาศของกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการป้องกันและระงับอัคคีภัยภายในโรงงาน พ.ศ. 2552 จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะจะเป็นการทดสอบเครื่องสูบน้ำดับเพลิงในทุก ๆ สัปดาห์ ซึ่งจะทำให้เครื่องยนต์ได้ทำงานอย่างสม่ำเสมอ และไม่ก่อให้เกิดสนิม หรือเกิดการชำรุดเมื่อต้องใช้งานจริงในยามฉุกเฉิน

3. ข้อต่อหัวจ่ายน้ำดับเพลิงมีน้ำรั่วซึม

หนึ่งในสาเหตุที่มักจะทำให้ระบบสูบน้ำมีปัญหา คือน้ำที่รั่วซึมบริเวณข้อต่อหัวจ่าย ซึ่งมีต้นเหตุมาจากการเสื่อมสภาพของซีลยางหัวเสียบสายน้ำดับเพลิง จนทำให้การซีลน้ำไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควร ก่อให้เกิดปัญหา “ความดันในท่อระบบน้ำดับเพลิงตก” ส่งผลให้จ๊อกกี้ปั๊มที่รักษาแรงดันน้ำขัดข้อง ในที่สุดปั๊มน้ำดับเพลิงก็อาจจะชำรุดได้

4. มองข้ามการทำ PM บำรุงรักษาระบบดับเพลิง

การทำ PM หรือการบำรุงรักษาระบบดับเพลิงประจำปีนับว่าเป็นกระบวนการสำคัญที่สถานประกอบการไม่ควรมองข้าม เพราะการตรวจสอบว่าระบบดับเพลิงของคุณสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพหรือไม่ จะส่งผลต่อการใช้งานจริงในยามฉุกเฉินเมื่อต้องเจอกับเหตุอัคคีภัย และหากเครื่องยนต์เกิดมีสนิม หรือมีการทำงานที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน เมื่อถึงเวลาที่ต้องใช้งานก็จะทำให้ไม่สามารถใช้ได้อย่างเต็มกำลัง และอาจส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมเพลิงให้ลดความเสียหายได้เท่าที่ควร

5. ไม่ได้รับการตรวจรับรองประจำปี

หลายครั้งที่ปัญหาระบบดับเพลิงมาจากการมองข้ามการตรวจสอบ หรือการทดลองระบบเพื่อเช็กประสิทธิภาพการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการตรวจรับรองระบบดับเพลิงประจำปีที่จะช่วยบอกถึงปัญหาการทำงาน พร้อมแนวทางการปรับปรุงแก้ไขอย่างละเอียดจากคำแนะนำของวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งการใช้บริการตรวจระบบดับเพลิงที่มีความเป็นมืออาชีพ และมีความรู้เฉพาะทางก็จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างครอบคลุม พร้อมป้องกันการเสียหายในระยะที่อาจเกิดขึ้นได้

วิธีตรวจสอบระบบปั๊มน้ำดับเพลิงเบื้องต้น

ตรวจสอบระบบปั๊มน้ำดับเพลิงเบื้องต้น

อุปกรณ์สำคัญในระบบดับเพลิงอย่าง “ปั๊มน้ำดับเพลิง” นั้น มีหน้าที่ช่วยขับเคลื่อนน้ำจากแหล่งน้ำสำรองไปยังตู้ดับเพลิงหรือสปริงเกอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ถ้าระบบขาดการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอก็อาจทำให้ไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มกำลัง และเกิดเหตุขัดข้องได้ในยามฉุกเฉิน

อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบระบบปั๊มดับเพลิงเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ซึ่งเป็นไปตามประกาศของกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการป้องกันและระงับอัคคีภัยภายในโรงงาน พ.ศ. 2552 โดยมีวิธีตรวจสอบระบบปั๊มน้ำดับเพลิงที่สามารถดำเนินการเบื้องต้นได้ง่าย ๆ ดังนี้

  • การตรวจน้ำสำรอง
  • การตรวจเครื่องยนต์
  • การตรวจสอบเชื้อเพลิงสำรอง
  • การตรวจสอบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง
  • การตรวจปั๊มน้ำดับเพลิง, Jockey Pump
  • การตรวจระบบสตาร์ทแบบมือและแบบอัตโนมัติ
  • การตรวจวาล์วน้ำทั้งหมด
  • การตรวจสายฉีดน้ำและตู้เก็บสายฉีด
  • การตรวจข้อต่อสายต่าง ๆ
  • การตรวจระบบการจ่ายน้ำดับเพลิง
  • การทดสอบประสิทธิภาพปั๊มน้ำดับเพลิง
  • ตรวจสอบสภาพเครื่องสูบน้ำดับเพลิง
  • การทดสอบประสิทธิภาการทำงานของระบบดับเพลิง
  • สรุปผลการตรวจสภาพระบบดับเพลิง และแนะแนวทางแก้ไขเบื้องต้น

บี.กริม เทรดดิ้ง เราเป็นผู้จัดจำหน่ายเครื่องสูบน้ำดับเพลิง Patterson จากประเทศสหรัฐอเมริกา อย่างเป็นทางการแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีบริการตรวจระบบดับเพลิงโดยผู้เชี่ยวชาญ พร้อมให้คำแนะนำจากทีมงานมืออาชีพหลังการขาย เพื่อให้คุณมั่นใจในประสิทธิภาพการทำงานและเพิ่มความปลอดภัยสูงสุดให้กับสถานประกอบการ หากสนใจสามารถติดต่อและสอบถามข้อมูลตามด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ

สอบถามข้อมูลสินค้าเพิ่มเติมได้ที่

👷🏻ติดต่อ : คุณป้อมเพชร วิศยทักษิณ ผู้จัดการฝ่ายขาย (Mechanical Department)
📱เบอร์โทรศัพท์ : 02-710-3211 / 081-610-6604
📱Line id : Pompetch.w

🌐 https://bgrimmtrading.com/contact-us/
📧 อีเมล: [email protected]
📱เบอร์โทรศัพท์ : 02-710-3211

เรื่องล่าสุด