การออกแบบแสงสว่างเพื่ออาคารประหยัดพลังงาน

B.GRIMM Trading | Lighting design for energy efficiency

การออกแบบแสงสว่างเพื่ออาคารประหยัดพลังงาน

B.GRIMM Trading Lighting Design for Energy-Efficiency Building

Lighting design หรือ การออกแบบแสงสว่างคืออะไร

Lighting design หรือ การออกแบบแสงสว่าง คือ กระบวนการวางแผนและใช้งานระบบแสงสว่างในพื้นที่หนึ่ง ๆ เพื่อเพิ่มความสวยงาม ประโยชน์ใช้สอย และประสบการณ์โดยรวม เป้าหมายของการออกแบบแสงสว่างคือการสร้างบรรยากาศที่สมดุลและกลมกลืน ซึ่งช่วยเสริมสถาปัตยกรรมและการออกแบบภายใน ขณะเดียวกันก็ตอบสนองความต้องการในการใช้งานจริงของพื้นที่ด้วย

BGRIMM TRADING | the benefit of lighting design

ประโยชน์ของการออกแบบแสงสว่าง

ประโยชน์หลักประการหนึ่งของการออกแบบแสงสว่าง ก็คือการประหยัดพลังงาน ด้วยความตระหนักที่เพิ่มขึ้นถึงความจำเป็นในการลดการใช้พลังงานและค่าใช้จ่าย การออกแบบแสงสว่างจึงมีบทบาทสำคัญในการบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ การออกแบบแสงที่ดีช่วยเพิ่มการใช้แสงธรรมชาติและลดความจำเป็นในการใช้แสงจากหลอดไฟ ทำให้ต้นทุนด้านพลังงานลดลงและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน

BGRIMM Trading | LED Lighting design

ตัวอย่างเช่น ไฟ LED ประหยัดพลังงานสูงและมีอายุการใช้งานยาวนานกว่าเมื่อเทียบกับแหล่งกำเนิดแสงแบบดั้งเดิม ด้วยการรวมแสง LED เข้ากับการออกแบบแสงสว่าง สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้ถึง 80% นอกจากนี้ ระบบควบคุมแสงสว่าง เช่น ดิมเมอร์และเซ็นเซอร์ตรวจจับการเข้าพัก ยังช่วยลดการใช้พลังงานได้อีกโดยการปิดไฟโดยอัตโนมัติเมื่อไม่ต้องการใช้

โดยสรุปแล้ว การออกแบบแสงสว่างเป็นส่วนสำคัญของการออกแบบอาคาร ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มรูปลักษณ์และความรู้สึกของพื้นที่เท่านั้น แต่ยังมีส่วนช่วยในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย การใช้แสงธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุดและผสมผสานแหล่งกำเนิดแสงและการควบคุมแสงที่ประหยัดพลังงาน การออกแบบแสงสามารถช่วยลดการใช้พลังงานและค่าใช้จ่ายในขณะที่สร้างสภาพแวดล้อมที่สะดวกสบายและน่าดึงดูดใจ

สอบถามข้อมูลสินค้าเพิ่มเติมได้ที่
https://bgrimmtrading.com/contact-us/
อีเมล: [email protected]
เบอร์โทรศัพท์ : +66 (0) 2710 3000
Line Official Account :  https://lin.ee/ItAW7DS  @bgrimmtrading

เรื่องล่าสุด

สิ่งที่ควรจะคำนึงเบื้องต้นก่อนเริ่มออกแบบแสงสว่าง (Lighting Design)

what-is-lighting-design

สิ่งที่ควรจะคำนึงเบื้องต้นก่อนเริ่มออกแบบแสงสว่าง (Lighting Design)

Lighting Design คืออะไร

“แสงสว่าง” อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการดำเนินชีวิต ที่ไม่ใช่เพียงแค่ช่วยให้สามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์ในการสร้าง Mood and Tone ให้กับสถานที่ นั่นจึงทำให้ ‘การออกแบบแสงสว่าง (Lighting Design)’ กลายเป็นขั้นตอนสำคัญต่อการติดตั้งระบบแสงทั้งภายในและภายนอกอาคาร ซึ่งนอกจากแสงสว่างที่ได้จะต้องเหมาะสมกับสไตล์ของสถานที่แล้ว ยังต้องตอบโจทย์ต่อการใช้อีกด้วย

สำหรับใครที่ยังนึกไม่ออกว่าการออกแบบแสงสว่างเป็นอย่างไร คล้ายกับการออกแบบห้อง ออกแบบที่อยู่อาศัยหรือไม่ และจะต้องมีปัจจัยอะไรบ้างที่ต้องคำนึงถึงก่อนออกแบบ บทความนี้มีคำตอบ

“แสงสว่าง” ออกแบบได้ด้วยจริงหรือ?

หลาย ๆ คนอาจยังไม่รู้ว่าการออกแบบแสงสว่าง (Lighting Design) คืออะไร ทำไมถึงมีความสำคัญ  ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ในการก่อสร้างอาคารหรือสถานที่ต่าง ๆ มักจะมีการออกแบบแสงเพื่อให้เหมาะสมต่อสถานที่นั้น ๆ โดยเน้นว่าแสงที่ออกแบบจะต้องเข้ากับสถาปัตยกรรมหรืออาคาร รวมถึงยังต้องเหมาะกับการใช้งานภายในพื้นที่ในแต่ละสัดส่วน สำหรับในการออกแบบแสงสว่างภายนั้น ถือว่าเป็นหนึ่งในโซลูชันที่จะเข้ามาช่วยจัดการด้านแสงสว่างให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างที่คุณต้องการ ทั้งในเรื่องของความสวยงามและการใช้ประโยชน์จากแสงไฟ

การออกแบบแสงสว่าง (Lighting Design) คืออะไร

กระบวนการออกแบบแสงสว่าง คือการคิดคำนวณ ตลอดจนการวางแผนเกี่ยวกับระบบแสงสว่าง เพื่อหาค่าความส่องสว่างให้เพียงพอต่อการใช้งาน รวมไปถึงมาตรฐานในแต่ละพื้นที่ในกรณีที่สถานที่นั้น ๆ มีการกำหนดแสงที่ต้องใช้เอาไว้อย่างชัดเจน

โดยการออกแบบแสงจะต้องพิจารณาในหลาย ๆ ปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นขนาดของพื้นที่ที่ต้องออกแบบ การตกกระทบและการสะท้อนระหว่างพื้น ผนัง เพดาน ตลอดจนการจัดวางระบบแสงหลักและแสงรอง เพื่อให้เกิดความสว่างให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ โดยการออกแบบแสงสว่างในปัจจุบัน สามารถแบ่งได้หลัก ๆ ทั้งหมด 2 วิธี ดังนี้

  • วิธีออกแบบแสงสว่างแบบ IES (Illumination Engineering Society)

    เป็นวิธีการออกแบบแสงสว่างที่อยู่ภายใต้มาตรฐาน BS หรือ British Standards Exposure lndex โดยรายละเอียดของวิธีนี้ค่อนข้างที่จะซับซ้อน มีทั้งเรื่องของการหาค่าตัวเลขความส่องสว่าง และตัวอักษรที่หมายถึงองค์ประกอบของตำแหน่งการวางแสงสว่างที่ต่างกันอย่าง W = Working Plane, S = Switch และ F = Floor อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่ต้องลงรายละเอียดค่อนข้างมาก ระยะเวลาที่ใช้ในการคำนวณจึงอาจนานนานตามไปด้วย

  • วิธีออกแบบแสงสว่างแบบคำนวณอัตราส่วนของห้อง

    สำหรับการออกแบบแสงจากการคำนวณอัตราส่วนของห้อง เป็นขั้นตอนที่มีความรวบรัดกว่าการออกแบบแสงแบบ IES ซึ่งวิธีการนี้ถูกเสนอโดย CIE International Commission on Illumination ที่กำหนดให้หาจำนวนโคมที่ต้องใช้ภายในพื้นที่ รวมไปถึงระยะห่าง และการเขียนแผนผังการติดตั้งจากการคำนวณอัตราส่วนห้อง โดยจุดประสงค์หลักของการใช้วิธีการนี้ นอกจะเป็นวิธีที่รวบรัดแล้ว ยังประหยัดเวลา อีกทั้งยังช่วยให้สามารถกำหนดกำลังไฟฟ้าที่ต้องใช้ไม่ให้เกินค่าที่กฎหมายกำหนดได้ตรงตามมาตรฐาน จึงเหมาะสำหรับการออกแบบในพื้นที่สำนักงาน หรือสถานที่ราชการที่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับแสงสว่างเอาไว้

งานออกแบบระบบแสงสว่างในแต่ละประเภท

ระบบการออกแบบ Lighting Design

อย่างไรก็ตามการออกแบบแสงสว่างไม่ใช่เพียงแค่การคำนวณหาค่าแสงที่เหมาะสม แต่ยังมีเรื่องของความสวยงามและการใช้งานเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงทำให้การออกแบบแสงสามารถแยกย่อยตามจุดประสงค์ของการติดตั้งได้ถึง 2 ระบบด้วยกัน

ระบบการให้แสงหลัก (Primary Lighting System)

สำหรับระบบการให้แสงสว่างหลัก เรียกได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของการออกแบบแสงสว่างเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นการออกแบบระบบสำหรับการใช้งาน โดยแสงหลักเหล่านี้จะทำหน้าที่ให้ความส่องสว่าง จึงต้องมีการออกแบบให้เพียงพอต่อมาตรฐานการใช้งานในแต่ละพื้นที่ ซึ่งการออกแบบแสงหลักก็สามารถแบ่งเป็นระบบย่อย ๆ ได้ ดังนี้

  • แสงสว่างทั่วไป (General Lighting): การออกแบบให้แสงสามารถกระจายได้ทั่วบริเวณ เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ไม่ต้องการใช้แสงสว่างมากเกินไป หรือต้องการเน้นการประหยัดพลังงานเป็นหลัก 
  • แสงสว่างเฉพาะที่ (Localized Lighting): การออกแบบที่ให้แสงสว่างเฉพาะพื้นที่ หรือเป็นพื้นที่ที่ต้องการใช้งานเท่านั้น ในภาพรวมจึงไม่มีแสงสว่างที่สม่ำเสมอกันเหมือนแบบแรก แต่ก็ยังคงช่วยเรื่องการประหยัดพลังงานได้เช่นกัน
  • แสงสว่างเฉพาะที่และทั่วไป (Local Lighting + General Lighting): การให้แสงสว่างแบบผสมผสานระหว่างแบบทั่วไป และเฉพาะที่ ซึ่งการให้แสงสว่างแบบนี้จะเหมาะกับงานที่ต้องการได้ความส่องสว่างสูง อย่างไรก็ตามจะต้องยอมรับถึงกำลังไฟฟ้าที่ใช้ และค่าไฟที่จะตามมาเช่นกัน

ระบบการให้แสงรอง (Secondary Lighting System)

ในส่วนของระบบการให้แสงรองก็เหมือนกับการใช้เป็นออฟชั่นเสริม ตอบสนองจุดประสงค์การออกแบบแสงเพื่อความสวยงาม ซึ่งระบบแสงรองจะช่วยให้แสงที่ได้ ดึงดูดสายตาและอารมณ์
สำหรับระบบการให้แสงรองสามารถแบ่งเป็นระบบย่อยได้ ดังนี้

  • แสงสว่างแบบส่องเน้น (Accent Lighting): เป็นการออกแบบแสงให้ส่องเน้นเฉพาะจุดใดจุดหนึ่ง หรือใช้กับการส่องเน้นที่วัตถุ เพื่อดึงดูดสายตาให้เกิดความน่าสนใจ ส่วนมากจะใช้ไฟแบบสปอตไลท์ในการออกแบบแสงสว่างส่องเน้น
  • แสงสว่างแบบเอฟเฟค (Effect Lighting): การออกแบบแสงสว่างให้เกิดบรรยากาศที่น่าสนใจ มักจะเจอได้ในรูปแบบของการส่องไฟไปที่กำแพง หรือพื้น เพื่อสร้างรูปแบบต่าง ๆ จากแสงให้เกิดความสวยงาม
  • แสงสว่างตกแต่ง (Decorative Lighting): นับว่าเป็นการออกแบบแสงที่พบเห็นได้บ่อย ๆ โดยจะเน้นไปทางความสวยงามของหลอดหรือโคมไฟ และใช้สำหรับตกแต่งเพื่อให้เป็นที่สนใจ
  • แสงสว่างงานสถาปัตย์ (Architectural Lighting): การออกแบบแสงให้สัมพันธ์กับงานสถาปัตยกรรม เกิดลูกเล่น ความสวยงาม สร้างอารมณ์จากแสงและเงา

สิ่งที่ควรคำนึงระหว่างการออกแบบแสงสว่าง

 Lighting Design เป็นโซลูชันที่สามารถส่งผลต่อความพึงพอใจ ทัศนวิสัย และบรรยากาศของสถานที่ ด้วยเหตุผลเหล่านี้จึงทำให้มีสิ่งต่าง ๆ มากมายที่ต้องคำนึงในการออกแบบแสงสว่าง เพื่อให้ได้แสงที่สมบูรณ์และเหมาะสมกับสถานที่มากที่สุด โดยสิ่งที่ควรจะต้องคำนึงหลัก ๆ จะมีอยู่ทั้งหมด 3 ข้อ ดังนี้

  • ความสวยงาม VS การประหยัดไฟ

    การออกแบบแสงสว่างมีจุดประสงค์หลัก ๆ คือการใช้งานที่เหมาะสม แต่เรื่องของความสวยงามและการประหยัดพลังงานก็นับว่าเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ผู้ออกแบบให้ความสำคัญ ซึ่งเราอาจจะเห็นได้ว่าการออกแบบแสงสว่างในแต่ละพื้นที่มีความสวยงามและบรรยากาศที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจเกิดจาการใช้กำลังไฟ และจำนวนแสงสว่างที่ไม่เท่ากัน

    หากใครต้องการความสวยงาม สามารถออกแบบโดยการเน้นใช้แสงไฟไปทั่วบริเวณ แต่อาจต้องยอมแลกกับค่าไฟที่เพิ่มสูงขึ้น แต่หากคุณต้องการเน้นเรื่องประหยัดพลังงานเป็นหลัก จำนวนแสงสว่างที่ใช้อาจต้องลดลง และต้องยอมสละในเรื่องของความสวยงามทิ้งไป
  • การเลือกแสงของหลอดไฟให้เหมาะกับสถานที่

    เพราะแสงจากหลอดไฟมีความเหมาะสมกับการใช้งานที่แตกต่างกัน ทั้งเรื่องสีที่ให้ อุณหภูมิแสง ตลอดจนความสามารถในการให้แสงสว่าง ดังนั้น คุณจะต้องรู้ว่าการออกแบบแสงสว่างในครั้งนี้ คุณคาดหวังกับอะไร ต้องการเน้นการใช้งานแบบไหน หรือต้องการความสวยงามอย่างไร เพื่อให้คุณสามารถเลือกหลอดไฟที่จะใช้กับสถานที่ได้อย่างเหมาะสม

  • รูปแบบของหลอดและโคมไฟ

    สิ่งที่มีความสำคัญอย่างมากในการออกแบบแสงสว่าง นั่นก็คือรูปแบบของหลอดและโคมไฟ ที่จะต้องคำนึงถึงอย่างรอบคอบ เนื่องจากมีผลกับภาพรวมหลังจากการติดตั้งแสงสว่าง อีกทั้งยังเกี่ยวข้องกับการใช้งานในระยะยาว ว่าจะทนทานมากน้อยแค่ไหน ดังนั้น จะต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วน ทั้งในเรื่องของคุณภาพ ราคา และคุณสมบัติในการใช้งาน เพื่อให้ตอบสนองการใช้งานได้ที่ทนทาน และง่ายต่อการบำรุงรักษา

หากใครกำลังมองหาบริการออกแบบแสงสว่าง (Lighting Design) สำหรับติดตั้งระบบแสงสว่างทั้งภายในและภายนอกอาคาร ที่บี.กริม เทรดดิ้ง เรามีทีมงานผู้เชี่ยวชาญคอยให้บริการโซลูชันออกแบบแสงสว่างมาตรฐานระดับโลก ที่สามารถตอบสนองกับทุกความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งอุปกรณ์ให้แสงสว่างคุณภาพสูงที่มีให้คุณเลือกสรรครบในที่เดียว สนใจติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทร. 02-7103000

เรื่องล่าสุด

Philips Hue หลอดไฟอัจฉริยะ แสงสว่างสู่บ้านแห่งอนาคตของคุณ

Philips Hue

Philips Hue หลอดไฟอัจฉริยะ แสงสว่างสู่บ้านแห่งอนาคตของคุณ

Philip Hue ข้อมูล

ในช่วงปีหลังๆ มานี้เรามักได้ยินคอนเซ็ปบ้านอัจฉริยะ หรือ Smart Home เทรนด์ที่อยู่อาศัยยุคใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีในการควบคุมอุปกรณ์อัจฉริยะต่างๆ (Smart Device) ในบ้านไม่ว่าจะเป็น ประตูบ้าน แอร์ ผ้าม่าน ทีวี เครื่องเสียง กล้องวงจรปิด ไปจนถึงไฟฟ้า และน้ำประปา เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้พักอาศัยมากยิ่งขึ้น

ใครที่กำลังสนใจอยากปรับเปลี่ยนบ้านตัวเองเป็นบ้านแห่งอนาคต ในบทความนี้เราจะพาทุกท่านไปสัมผัสกับหลอดไฟอัจฉริยะ (Smart Light Bulbs) จาก Philips ที่เมื่อขึ้นชื่อว่าอัจฉริยะแล้ว มันคงไม่ได้ทำได้แค่ให้แสงสว่างเหมือนหลอดไฟปกติทั่วไปอย่างแน่นอน

ควบคุมอย่างชาญฉลาดยิ่งขึ้นด้วย Philips Hue Bridge ระบบแสงสว่างอัจฉริยะ

วัตถุประสงค์หลักของการพัฒนาระบบไฟอัจฉริยะคือการมุ่งเน้นให้เกิดการใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ประหยัดพลังงานมากกว่าเดิม รวมถึงให้ผู้ใช้งานได้รับความสะดวกมากยิ่งขึ้น Philips Hue Bridge ซึ่งเป็นระบบควบคุมหลอดไฟ ไม่เพียงแต่จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถควบคุมแสงไฟได้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น แต่จะเปลี่ยนแปลงประสบการณ์การใช้งานระบบแสงสว่างที่คุณได้รับตลอดไป

  • ควบคุมผ่านสมาร์ทโฟน – ควบคุมทุกการทำงานและฟีเจอร์ต่างๆ ผ่านสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตของคุณได้จากทุกที่ เพียงดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น Philips Hue บนระบบ IOS และ Android และเชื่อมต่อกับ Phillips Hue Bridge ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างหลอดไฟกับแอพพลิเคชั่น
  • จัดการหลอดไฟได้สูงสุด 50 ดวง – เพียงเลือกหลอดไฟ Philips Hue ตามจำนวนที่คุณต้องการและเชื่อมต่อกับ Philips Hue Bridge บ้านทั้งหลังของคุณก็พร้อมทำงานด้วยแอพพลิเคชั่น Philips Hue อย่างง่ายดาย
  • เชื่อมต่ออุปกรณ์ได้สูงสุด 12 เครื่อง – ยกระดับประสบการณ์การเชื่อมต่อระบบแสงสว่างของคุณด้วยการเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมต่างๆ ในกลุ่ม Philips Hue (เช่น สวิตช์หรี่ไฟ, เซนเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว) ได้สูงสุดถึง 12 เครื่อง

ไม่ใช่แค่เปลี่ยนสี แต่เพื่อสร้างบรรยากาศที่สอดรับกับทุกกิจกรรม

  • หลับและตื่นอย่างเป็นธรรมชาติ – Philips Hue ช่วยให้คุณเริ่มต้นวันใหม่อย่างมีประสิทธิภาพกับการตื่นนอนยามเช้าอย่างเป็นธรรมชาติผ่านการใช้แสงสีขาวในโทนและอุณหภูมิที่เหมาะสม โดยการปรับไล่ความเข้มของแสงขึ้นเรื่อยๆ ตามบรรยากาศของแสงแดดธรรมชาติ แทนการใช้เสียงจากนาฬิกาปลุก และใช้แสงโทนสีเหลืองเพื่อให้คุณผ่อนคลายและเตรียมพร้อมร่างกายสำหรับการเข้านอน
  • อ่านหนังสืออย่างมีสมาธิ – แสงไฟสีขาวโทนอบอุ่นจะช่วยให้คุณอ่านหนังสือได้อย่างมีสมาธิมากขึ้น
  • เพิ่มสีสันให้กับทุกกิจกรรม – เติมสีสันและออกแบบห้องเพื่อสร้างบรรยากาศภายในบ้านให้เหมาะสมกับแต่ละกิจกรรมได้ง่ายๆ ด้วยการปรับค่าสีได้สูงสุดถึง 16 ล้านสี

เปิด-ปิดอัตโนมัติ

ด้วยเทคโนโลยี Geofencing คุณสามารถตั้งค่าให้ไฟเปิดต้อนรับเมื่อกลับมาถึงบ้านหรือปิดโดยอัตโนมัติเมื่อคุณออกจากบ้าน หรือจะเลือกปรับตั้งเวลาเปิดปิดเองก็ทำได้อย่างง่ายดาย

สั่งการด้วยเสียง

รองรับการสั่งการด้วยเสียงผ่าน Siri, Google Assistant และ Amazon Alexa เพื่อให้คุณเปิด-ปิด หรือหรี่ไฟเพื่อสร้างบรรยากาศที่ต้องการ เรียกใช้ค่าที่ตั้งไว้ เปลี่ยนสี และการทำงานอื่นๆ อีกมากมาย ได้อย่างรวดเร็วทันใจโดยแทบจะไม่ต้องยกนิ้วเลย

ยกระดับความบันเทิงของคุณด้วย Hue sync box

เชื่อมต่อสื่อความบันเทิงของคุณกับโคมไฟอัจฉริยะ เพื่อการดูหนัง ฟังเพลง หรือเล่นเกมที่สะท้อนสีสันรอบตัวและทุกจังหวะอย่างลงตัว

อายุใช้งานที่ยาวนาน

Philips Hue มากับอายุการใช้งานถึง 25,000 ชม. ช่วยให้คุณหมดกังวลกับการเปลี่ยนหลอดไฟบ่อยครั้ง

บี. กริม เทรดดิ้ง ยินดีให้คำปรึกษา เราเป็นตัวแทนจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของ Philips สินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ช่วยให้ที่พักอาศัยของคุณสะดวกสบายยิ่งขึ้น มั่นใจด้วยการรับประกันสินค้าและความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล ปรึกษาเราได้เลย ที่นี่

สอบถามข้อมูลสินค้าเพิ่มเติมได้ที่
https://bgrimmtrading.com/contact-us/
อีเมล: [email protected]
เบอร์โทรศัพท์ : +66 (0) 2710 3232

เรื่องล่าสุด

Facade Lighting งานตกแต่งเปลือกอาคารด้วยแสงไฟ

Facade lighting

Facade Lighting งานตกแต่งเปลือกอาคารด้วยแสงไฟ

facade lighting

เราจะเห็นว่าตึกอาคารจะมีองค์ประกอบด้านหน้า เช่น หน้าต่าง กระจก ระเบียง ชายคา หรือสิ่งตกแต่งปลีกย่อยอื่นๆ องค์ประกอบเหล่านี้เรียกว่า Facade หรือในงานสถาปัตยกรรมจะเรียกว่า “เปลือกอาคาร” ที่นอกเหนือจากมีประโยชน์ในการปกป้องอาคารจากสภาวะแวดล้อมภายนอก ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสวยงามเป็นเอกลักษณ์ ถือเป็นอีกหนึ่งผลงานทางด้านสถาปัตยกรรมที่สำคัญของนักออกแบบ

นวัตกรรมแสงสว่าง LED
สำหรับบ้านพักอาศัยหรือคอนโดมิเนียม การตกแต่งของ facade จะค่อนข้างเรียบง่ายเพื่อความสะดวกในการใช้งานและการดูแลรักษา แต่ในอาคารพาณิชย์ เช่น ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า โรงแรม สนามกีฬา อาคารสูง รวมไปถึงแลนด์มาร์คต่างๆ ที่ต้องการเน้นงานสถาปัตยกรรมที่ดึงดูดความสนใจ หรือสำหรับทำกิจกรรม เช่น ลานหน้าศูนย์การค้า การออกแบบของ facade จึงมีรายละเอียดลูกเล่นที่หลากหลายและซับซ้อนมากกว่า ซึ่งองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยสร้างมิติและความโดดเด่นคงไม่พ้นการออกแบบแสงไฟภายนอกอาคาร (Lighting Design for Exterior) เพื่อช่วยเพิ่มเสน่ห์และความสวยงามให้แก่อาคารในยามค่ำคืน
การใช้ไฟ LED เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีของการตกแต่งอาคารที่เพิ่มสีสัน สร้างอัตลักษณ์ ช่วยให้อาคารมองเห็นได้จากระยะไกล อาคารที่มีสถาปัตยกรรมการออกแบบภายนอกและตกแต่งด้วยแสงไฟที่สวยงามย่อมเป็นที่จดจำและพูดถึงในวงกว้าง ถือเป็นอีกกลยุทธ์ในการส่งเสริมภาพลักษณ์ให้กับแบรนด์ และส่งเสริมการขาย

คุณสมบัติของหลอดไฟ LED

  • เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม: หลอดไฟ LED แตกต่างจากหลอดไฟนีออนตรงที่ไม่มีแสง UV และไม่มีสารปรอท จึงไม่เป็นอันตรายต่อผิวหนังและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • ประหยัดพลังงาน: ประหยัดไฟมากกว่าหลอดไฟแบบปกติเนื่องจากมีการปล่อยความร้อนน้อยลงและใช้พลังงานน้อยกว่าเมื่อเทียบกับระดับแสงสว่างที่เท่ากัน
  • ทนทาน: วัสดุมีคุณภาพ ทนทาน ไม่แตกง่ายเหมือนหลอดไฟทั่วไป รวมถึงทนต่อการสั่นสะเทือนและสภาพอากาศต่างๆ
  • ถนอมสายตา: ให้แสงสว่างคงที่ สีคมชัดและไม่มีอาการไฟกระพริบ

การออกแบบแสงไฟ
การออกแบบแสงไฟมีหลายรูปแบบ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ไฟประดับทั่วทั้งอาคาร ขึ้นอยู่กับคอนเซ็ป สไตล์ของอาคารนั้นๆ เช่น

  • แบบ Direct View – ที่มักใช้ในรูปแบบของจอโฆษณา LED ขนาดใหญ่ (Media Facade) นิยมติดตั้งกับเปลือกอาคารที่เป็นพื้นผิวกระจกและมีความมันวาว
  • การส่องเน้นเฉพาะจุด (Accent Lighting) – โดยการใช้แสงไฟส่องเน้นไปยังจุดใดจุดหนึ่งหรือบริเวณที่สำคัญ ที่จะสามารถดึงดูดความสนใจได้มากที่สุด
  • แสงสว่างแบบเอฟเฟค (Effect Lighting) – การใช้โคมไฟติดตั้งด้านบนหรือด้านล่างของเปลือกอาคารเพื่อส่องแสงขึ้นหรือลงและสร้างรูปแบบของแสงที่กำแพง สร้างบรรยากาศที่น่าสนใจแต่ไม่ส่องเน้นวัตถุใดเป็นพิเศษ
  • แสงสว่างทางสถาปัตยกรรม (Architectural Lighting) – การใช้แสงสว่างที่สัมพันธ์กับงานทางด้านสถาปัตยกรรมหรือโครงสร้างของอาคาร เช่น การใช้หลืบร่องของผนังเป็นแหล่งกำเนิดแสง การใช้แสงจากมุมบังตา เพื่อเพิ่มมิติที่น่าดึงดูดให้กับอาคาร

ข้อคำนึงในการออกแบบ

  • ส่วนสูง ความกว้างและองค์ประกอบของอาคาร – วัสดุ การสะท้อนแสง และสีของเปลือกอาคารมีผลต่อการเลือกรูปแบบของโคมไฟ จำนวนที่ต้องใช้ และองศาที่เลือกเป็นจุดส่องแสงเพื่อให้เข้ากับภาพลักษณ์ของอาคาร
  • ตำแหน่งแสงไฟ – ต้องเป็นมุมที่ไม่ถูกบดบังด้วยต้นไม้หรืออาคารข้างเคียง ผู้คนที่เดินสัญจรไปมาหรือผู้ขับขี่บนท้องถนนสามารถมองเห็นได้ชัดเจนทั้งจากระยะใกล้และไกล และแม้ว่าตำแหน่งติดตั้งควรอยู่ในจุดที่พรางสายตาแต่ในขณะเดียวกันก็ต้องสามารถเข้าถึงได้เพื่อสะดวกต่อการบำรุงรักษา
  • แสงไฟและภูมิทัศน์ – แสงไฟที่ส่องสะท้อนและภูมิทัศน์รอบด้านเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการออกแบบและตำแหน่งการติดตั้ง ควรเลือกตำแหน่งบนเปลือกอาคารที่ไม่มีแสงส่องถึง เช่น บริเวณด้านบนที่ไกลจากแสงไฟจากถนน
  • ไม่ทำร้ายสายตา – ในขณะที่แสงไฟควรสร้างความสวยงามและมองเห็นได้ชัดเจน แต่ต้องระมัดระวังการเลือกใช้วัสดุที่ไม่เป็นแสงจ้าและส่องสว่างจนสร้างผลกระทบต่อดวงตาผู้คน

บี.กริม เทรดดิ้ง เรามีผู้เชี่ยวชาญยินดีให้คำแนะนำในการออกแบบและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ Facade Lighting ที่ได้มาตรฐาน มีระบบความปลอดภัยสูง และเหมาะสมกับสถาปัตยกรรมทุกรูปแบบ สามารถติดต่อเราได้ ที่นี่

สอบถามข้อมูลสินค้าเพิ่มเติมได้ที่
https://bgrimmtrading.com/contact-us/
อีเมล: [email protected]
เบอร์โทรศัพท์ : +66 (0) 2710 3232
Line : https://lin.ee/ItAW7DS @bgrimmtrading

เรื่องล่าสุด

ประโยชน์จากหลอดไฟ UV-C

UVC

ประโยชน์จากหลอดไฟ UV-C

หลอดไฟ UV-C

เราคงคุ้นหูกันดีกับรังสี UV-A และ UV-B ในแสงแดด ที่ถึงแม้จะมีประโยชน์ในการช่วยกระตุ้นการผลิตวิตามินดีและสามารถนำมารักษาโรคผิวหนังบางชนิดได้ แต่หากได้รับในปริมาณมากและเป็นระยะเวลานานก็จะเป็นอันตรายต่อผิวหนัง สร้างความเสียหายต่อดีเอ็นเอ และก่อให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้

แล้วรังสี UV-C พบได้ที่ไหน

จริงๆ แล้ว รังสียูวีในแสงแดดถูกแบ่งออกเป็น 3 โซนด้วยกัน แต่แสงแดดที่มาถึงพื้นโลกจะมีคลื่นแสงยาวกว่า 290 nm ในขณะที่ UV-C มีช่วงความยาวคลื่นที่ 100 – 280 nm จึงมักมาไม่ถึงผิวโลก ยกเว้นในบริเวณยอดเขาสูง รังสี UV-C เป็นรังสีที่อันตรายต่อมนุษย์ในระดับรุนแรง ทำให้ผิวหนังไหม้เกรียม เยื่อบุตาอักเสบ หรือตาบอดได้ ด้วยความรุนแรงดังกล่าว UVC จึงจัดเป็นรังสีที่ประสิทธิภาพสูงในการฆ่าเชื้อโรค และการนำมาใช้งานจึงเกิดขึ้นจากการสังเคราะห์ขึ้นเองผ่านระบบ “UVGI” (Ultraviolet Germicidal Irradiation) หรือ ระบบการใช้แสงยูวีที่มีความเข้มข้นสูงพิเศษ (Germicidal Range)

advantages of UVC

ประโยชน์ของ UV-C
UV-C มีพลังงานสูง ความยาวคลื่นยาวกว่ารังสี X-Ray สามารถส่องทะลุผ่านผิววัตถุรวมถึงดีเอ็นเอของเชื้อโรค จึงมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา ยีสต์ ที่อยู่บนพื้นผิววัตถุและในอากาศในเวลาเพียงไม่กี่วินาที

หลอดไฟ UV-C
ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด19 ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากการใช้เครื่องฟอกอากาศแล้วยังมีการนำรังสี UV-C มาใช้ร่วมเพื่อปรับคุณภาพอากาศ และเพื่อฆ่าเชื้อโรคไม่ว่าจะเป็นในสถานพยาบาล ห้องวิจัย อาคาร ร้านค้าต่างๆ หรือแม้แต่ในบ้านพักอาศัย และยิ่งในปัจจุบันมีการพัฒนาประยุกต์ใช้ ในรูปแบบของหลอดไฟและโคมไฟแสง UV-C ที่สามารถนำไปใช้ได้หลากหลายลักษณะ เช่น

  1. เพื่อฆ่าเชื้อโรคในอากาศ (Air Disinfection) โดยการติดตั้งบนผนังหรือเพดาน
  2. เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่พื้นผิวของวัตถุ (Surface Disinfection) เช่นในรูปแบบของรถเข็นโดยส่องไปยังบริเวณพื้นห้อง เฟอร์นิเจอร์ ราวจับ ภาชนะบรรจุ หรืออุปกรณ์ต่างๆ
  3. เพื่อฆ่าเชื้อโรคในของเหลว (Liquid Disinfection) เช่นการฆ่าเชื้อในน้ำ เครื่องกรองน้ำ ตู้ปลา หรือสระว่ายน้ำ รวมถึงในอาหารสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร

การใช้งาน

  • ต้องถูกเชื้อโรคโดยตรง ในระยะเวลาที่เพียงพอ
    ประสิทธิภาพในการยับยั้งและทำลายเชื้อโรคของ UV-C ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ระยะเวลาที่ใช้ในการฆ่าเชื้อ ระยะห่าง ประเภทของพื้นผิวหรือวัตถุ รวมถึงชนิดของเชื้อโรค เนื่องจากเชื้อโรคบางชนิดสามารถทนต่อรังสีได้นาน
  • ควรใช้ในที่อากาศแห้ง
    รังสี UV-C จะมีประสิทธิภาพดีที่สุดเมื่อใช้ระดับความเข้มข้นน้อยในสถานที่ที่มีสภาพอากาศแห้ง หากใช้ในอากาศชื้นมากๆ จะต้องเพิ่มความเข้มของรังสีเป็นสองเท่า
  • ความเข้มแสงลดลงตามระยะห่าง
    ความเข้มของรังสีจะลดลงตามระยะห่างจากหลอดไฟ ประสิทธิภาพของแสงจึงอาจไม่เพียงพอในห้องที่มีปริมาตรขนาดใหญ่หรือมีฝ้าเพดานสูง อาจต้องเพิ่มจำนวนหลอด

ข้อพึงระวัง

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรง
    ในขณะที่ UV-C มีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อโรคหลากหลายชนิด แต่ก็เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ สามารถทำร้ายผิวหนังและเยื่อบุตาของคนและสัตว์ส่งผลให้ตาบอดได้ การใช้งานต้องปฏิบัติด้วยความระมัดระวังอย่างเคร่งครัด
  • ใช้ในพื้นที่ปิด ขณะเปิดใช้งานต้องไม่มีคนอยู่
    ต้องมั่นใจว่าขณะเปิดใช้งานไม่มีคนอยู่ในบริเวณนั้นๆ ควรมีไฟหรือสัญญาณแสดงเพื่อแจ้งเตือนว่าขณะนี้มีการเปิดใช้งานหลอด UV-C และควรมีระบบรีโมตในการเปิดปิดระยะไกล หรือใช้วิธีการเปิดปิดไฟได้สองทาง หรือมีเซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวซึ่งจะปิดไฟอัตโนมัติเมื่อมีคนเข้ามาใกล้
  • ผลิตภัณฑ์ต้องได้มาตรฐาน
    ควรเลือกใช้หลอดไฟที่มีมาตรฐานควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยในการใช้งานในระดับสากลโดยองค์กรต่างๆ โดยเฉพาะในสถานพยาบาลที่ต้องมีมาตรฐานสำหรับใช้ในการโรงพยาบาลโดยเฉพาะเพื่อควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อโรค

บี. กริม เทรดดิ้ง เป็นตัวแทนจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของ Philips สินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ได้มาตรฐานความปลอดภัยในระดับสากล และมีการรับประกันสินค้า

หลอดไฟ UV-C ของ Philips มาพร้อมระบบ Dynalite UV-C Control ที่ควบคุมปริมาณรังสีในปริมาณที่เหมาะสม และป้องกันการสัมผัสที่เป็นอันตราย มีระบบตั้งเวลาและสัญญาณแจ้งเตือนว่าระบบกำลังทำงาน มีเซนเซอร์จับความเคลื่อนไหวเพื่อหยุดทำงานทันทีหากพบว่าสถานที่มีการใช้งานอยู่หรือหากประตูเปิดเพื่อป้องกันอันตรายจากรังสี UV-C สัมผัสถูกคนหรือสัตว์

สอบถามข้อมูลสินค้าเพิ่มเติมได้ที่
https://bgrimmtrading.com/contact-us/
อีเมล: [email protected]
เบอร์โทรศัพท์ : +66 (0) 2710 3232
Line :  https://lin.ee/ItAW7DS  @bgrimmtrading

เรื่องล่าสุด

ปกป้องบ้านของคุณจากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียด้วยแสง UV-C​

ปกป้องบ้านของคุณจากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียด้วยแสง UV-C

โคมไฟแสง UV-C สำหรับฆ่าเชื้อโรค โคมไฟตั้งโต๊ะ จากฟิลิปส์

ข้อมูลสินค้า

• ใช้งานง่าย พร้อมแผงควบคุมที่ชัดเจนและคำแนะนำแบบเสียง
• เพิ่มการป้องกันอีกระดับด้วยเซ็นเซอร์จับการเคลื่อนไหวและตัวตั้งเวลา
• จากการทดสอบในห้องแล็บ พบว่าแหล่งกำเนิดแสง UV-C ของเราสามารถลด SARS-CoV-2 (ไวรัสที่ทำให้เกิดเชื้อโควิด-19) บนพื้นผิวจนต่ำกว่าระดับที่ตรวจจับได้ในเวลาเพียง 9 วินาที³
• ยับยั้งเชื้อโรคบนพื้นผิวและวัตถุได้ในเวลาเพียงไม่กี่นาที¹
• หลอดไฟแสง UV-C ประสิทธิภาพสูง ฟิลิปส์ (254nm)
• มีโหมดการตั้งเวลาเวลาในการยับยั้งเชื้อโรค 15 30 45 นาที
• เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่มีสารตกค้างทั้งระหว่างการใช้งาน และหลังจากใช้งานเสร็จแล้ว สามารถเข้าห้องได้ทันที
• ออกแบบเป็นทรงเหลี่ยมสวยงาม เข้ากันได้กับทุกห้อง
• มีการโต้ตอบด้วยเสียง เพื่อบอกผู้ใช้งานถึงขั้นตอนการตั้งค่าต่างๆ ในการฆ่าเชื้อโรค
• มีเซ็นเซอร์แบบไมโครเวฟเพื่อตรวจจับการเคลื่อนไหวของบุคคล, สัตว์เลี้ยง, และวัตถุ ในรัศมี 3 เมตร
• สายไฟแบบยาวพิเศษถึง 2.9 เมตร
• รับประกัน 1 ปี
• ฟิลิปส์มีประสบการณ์กว่า 35 ปีในด้านอุปกรณ์แสง UV-C
• การออกแบบไดรเวอร์เพื่อประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อโรคโดยเฉพาะ

การใช้งาน

ใช้งานภายในบ้าน, ห้องรับแขก, ห้องนอน, ครอบคลุมพื้นที่ขนาดเล็ก และห้องต่างๆ ขนาดไม่เกิน 25 ตารางเมตร

ข้อควรระวัง

การสัมผัสรังสี UV-C สามารถเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ โปรดทำตามแนวทางความปลอดภัยจากคู่มือผลิตภัณฑ์ก่อนใช้งาน

รายละเอียดสินค้า

สินค้า : โคมไฟตั้งโต๊ะ UV-C disinfection desk lamp
แรงดันไฟฟ้า : 220-240Vac 50/60Hz
กำลังไฟฟ้า : 24 วัตต์
อายุการใช้งานหลอด : 9000 ชั่วโมง
ขนาด : I2 x I2 x 24.7 ซม.
น้ำหนัก : 1200g
สี : Silver 

พร้อมจำหน่ายแล้ว!! ที่ SHOPEE : https://bit.ly/3iklB6a

สินค้า UV-C ได้ผ่านการทดสอบมาตราฐานสินค้าและรับรองความปลอดภัยเป็นที่เรียบร้อย โดยมีหนังสือแจ้งทางการลงวันที่ 30 มีนาคม 2564

เรื่องล่าสุด